กฏระเบียบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5.1. นโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรแร่และการทำเหมืองแร่

     รัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการทำเหมืองแร่ในประเทศ โดยมีนโยบายหลัก ดังนี้ คือ

  • – ส่งเสริมการลงทุนด้านเหมืองแร่ ทั้งการลงทุนภายในและต่างประเทศ ลดการนำเข้า และส่งเสริมการส่งออก
  • – สนับสนุนการทำเหมืองแร่ที่มีการเพิ่มมูลค่าแร่ในประเทศ เพื่อการส่งออก
  • – สนับสนุนการสำรวจแร่เพื่อการรู้ถึงข้อมูลที่แท้จริงสำหรับการศึกษาค้นคว้าวิจัย และการผลิตสินแร่ให้เป็นเงินทุน
  • – กลั่นกรองบริษัทเหมืองแร่ทั้งในและต่างประเทศที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถทางด้านเทคนิคและการเงิน

(ที่มา : www.robertharding.com, 2016)

5.2 กฎหมายแร่

     กฎหมายเหมืองแร่ฉบับแรกของประเทศมีการประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 1997 ในปี ค.ศ. 2008 รัฐบาลได้มีการปรับปรุงกฎหมายใหม่ โดยเปลี่ยนกฎหมายเหมืองแร่ (Mining Law) ไปเป็นกฎหมายแร่ (Mineral Law) และมีการปรับปรุงเปลี่ยนเนื้อหาสาระของกฎหมาย กฎหมายนี้เป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการ กิจกรรมด้านแร่ทั้งหมดของประเทศ โดยกฎหมายแร่ฉบับปัจจุบัน มีการประกาศใช้ ณ วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.2011

(ที่มา : www.wsj.com, 2015)

5.3. รูปแบบของการลงทุนทำเหมืองแร่ในประเทศลาว

     สืบเนื่องจากกฎหมาย Enterprise Law ของ สปป.ลาวที่ได้ระบุว่ารูปแบบการลงทุนจากต่างประเทศสามารถเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ในธุรกิจด้านแร่ก็เช่นเดียวกัน
     ตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมายแร่ บุคคล หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งใน สปป.ลาว หรือในต่างประเทศก็ตาม สามารถที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ได้ทั้งสิ้น โดยที่รัฐบาลแห่ง สปป ลาว จะพิจารณาผู้ลงทุนในกิจการที่เกี่ยวกับแร่ โดยมีเงื่อนไขโดยสังเขปดังต่อไปนี้

      1. ต้องเป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ได้รับการจัดตั้ง และจดทะเบียนดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับแร่ธาตุอย่างถูกต้อง
      2. มีฐานะทางด้านการเงินที่มั่นคง มีแหล่งเงินทุนสำรองที่เพียงพอ และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันครบถ้วน
      3. มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่ดี และน่าเชื่อถือ
      4. มีเทคนิคและประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับแร่ต่างๆ

5.4. ขั้นตอนและเงื่อนไขการขออนุญาตด้านแร่

ขั้นตอนการขออนุญาตสำรวจแร่

ขั้นตอนการขออนุญาตสำรวจแร่

ขั้นตอนการขออนุญาตทำเหมืองแร่

ขั้นตอนการขออนุญาตทำเหมือง

5.5. ภาษีและค่าธรรมเนียมด้านแร่

ภาษีและค่าธรรมเนียมภายใต้กฎหมายเหมืองแร่ ประกอบด้วย ค่าเช่าพื้นที่สำหรับการสำรวจแร่ ค่าเช่าพื้นที่สำหรับทำเหมือง และค่าภาคหลวงแร่ รายละเอียดดังนี้
ตารางที่ 1 ภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องด้านแร่

5.6. การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน

     องค์การทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 กำหนดให้โครงการลงทุนบางประเภทต้องศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ โครงการลงทุนใน 5 สาขา ดังนี้ คือ สาขาพลังงาน , สาขาเกษตรกรรมและป่าไม้, สาขาอุตสาหกรรมแปรรูป , สาขาโครงสร้างพื้นฐานและบริการ และ สาขาเหมืองแร่

5.7. หน่วยงานด้านแร่

หน่วยงานภาครัฐ
  • กรมธรณีวิทยาและแร่ (Department of Geology and Minerals, DGM)

Department of Geology and Mines (DGM),
Ministry of Natural Resources and Environment
Khounboulom Road, Vientiane Municipality, Lao PDR
Tel : +856-21-212080
Fax : +856 21-222539
Website: http://dgm.monre.gov.la/

  • กรมเหมืองแร่ (Department of Mines, DOM)

Department of Mines (DOM) , Ministry of Energy and Mines
Xaysetha District, Vientiane, Lao PDR
Tel : +856 21 452539-41

Fax : +856 21 415626, 415442

หน่วยงานภาคเอกชน
  • Lao Mining Association

เป็นสมาคมด้านเหมืองแร่ของ สปป.ลาว ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกของ Asean Federation on Mining Associations (AFMA)

5.8. สถานการณ์อุตสาหกรรมแร่

     การขออนุญาตสัมปทานด้านแร่ในปี ค.ศ. 2012 มีทั้งหมด 290 โครงการ แบ่งเป็นโครงการสำรวจแร่เบื้องต้น (Prospecting) จำนวน 107 โครงการ โครงการสำรวจอย่างละเอียด (Exploration) จำนวน 125 โครงการ และโครงการทำเหมือง (Mining) จำนวน 58 โครงการ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับกิจการสำรวจและทำเหมืองแร่มีทั้งหมด 61 บริษัท โดยแบ่งเป็นบริษัทท้องถิ่นจำนวน 14 บริษัท บริษัทต่างชาติจำนวน 12 บริษัท บริษัทร่วมกิจการจำนวน 35 บริษัท

     ข้อมูลการผลิตแร่ของ สปป.ลาว ในปี ค.ศ. 2013 มีการผลิตแร่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ แบไรต์ ทองคำ ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว ซึ่งมีการผลิตแร่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตในปี ค.ศ. 2012 ในขณะเดียวกัน ผลผลิตแร่ถ่านแอนทราไซต์ ยิปซัม มีผลผลิตลดลงค่อนข้างมาก

(ที่มา : www.jclao.com/)

5.9. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านแร่

     1) รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการทำเหมืองแร่ในประเทศ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศถึง 7% ของ GDP
     2) การปรับปรุงกฎหมายแร่ใหม่ (2011) มุ่งเน้นให้การทำเหมืองแร่มีประสิทธิภาพ ปกป้องสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสร้างความเจริญเติบโตให้เศรษฐกิจของประเทศ มีการสงวนอาชีพเหมืองแร่ โดยเฉพาะเหมืองแร่ขนาดเล็ก แร่อุตสาหกรรม สำหรับคนท้องถิ่น ความเข้มงวดด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน
     3) กฎหมายใหม่อนุญาตให้นักลงทุนชาวลาวเท่านั้น ที่สามารถทำเหมืองแร่อุตสาหกรรมได้ โดยเจ้าแขวงสามารถอนุญาตให้มีการทำเหมืองแร่อุตสาหกรรมได้ในขนาดพื้นที่ไม่เกิน 5 แฮกตาร์ และระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
     4) สปป.ลาว ชะลอการออกใบอนุญาตด้านเหมืองแร่ทั้งหมด (ค.ศ. 2009) เนื่องจากปัญหาการทำเหมืองแร มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน ปัญหาความซ้ำซ้อนของพื้นที่อนุญาต ปัญหาผู้ได้รับอนุญาตและไม่มีการดำเนินการ และปัญหารายได้ที่ได้รับจากโครงการเหมืองแร่น้อยเกินไป รัฐบาลอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในด้านนี้ โดยเล็งที่จะหารายได้เพิ่มขึ้นจากการอนุญาตทำเหมืองแร่ รัฐบาลมีการตรวจสอบและประเมินการทำงานของเหมืองแร่ทั้งหมดใน 8 ด้านรวมทั้ง การปฏิบัติตามกฎระเบียบ การป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือชุมชน เป็นต้น เหมืองแร่ที่ได้รับการประเมินเกรดต่ำสุด (เกรด D) อาจมีการเรียกคืนพื้นที่

     กฏระเบียบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. นโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรแร่และการทำเหมืองแร่
  2. กฎหมายแร่
  3. รูปแบบของการลงทุนทำเหมืองแร่ในประเทศลาว
  4. ขั้นตอนและเงื่อนไขการขออนุญาตด้านแร่
  5. ภาษีและค่าธรรมเนียมด้านแร่
  6. การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน
  7. หน่วยงานด้านแร่
  8. สถานการณ์อุตสาหกรรมแร่
  9. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านแร่

ประเทศลาว
Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา