1.1. ข้อมูลพื้นฐานประเทศเวียดนาม มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) มีพื้นที่ทั้งหมด 329,560 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศบริเวณภาคเหนือและภาคใต้เป็นดินแดนปากแม่น้ำที่ราบต่ำ มีที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ ทางภาคเหนือที่อยู่ห่างออกไปและทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีทิวเขาและภูเขา ภูมิอากาศในภาคเหนือของเวียดนาม มีภูมิอากาศคล้ายเขตเมืองร้อน มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มี.ค. – เม.ย.) ฤดูร้อน (พ.ค. – ส.ค.) ฤดูใบไม้ร่วง (ก.ย. – พ.ย.) และฤดูหนาว (ธ.ค. – ก.พ.) ส่วนในภาคใต้ของเวียดนาม จะมีภูมิอากาศคล้ายแถบเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (พ.ค. – ต.ค.) และฤดูร้อน (พ.ย. – เม.ย.)
เวียดนามมีการปกครองในระบอบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม (Communist Party of Vietnam : CPV) เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดแนวทางการบริหารประเทศในทุกด้าน ทำให้การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ แบ่งเขตการปกครองเป็น 59 จังหวัด และ 5 นคร ประกอบด้วย กรุงฮานอย, นครไฮฟอง, นครดานัง, นครโฮจิมินห์ และนครเกิ่นเทอ มีประชากรประมาณ 94 ล้านคน โดยมีอัตราการเพิ่มของประชากรเท่ากับ 0.97% ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 198.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.5 (ข้อมูล ณ ปี 2558)
1.2. การเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศเวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 และได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff : CEPT) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นการประกาศเริ่มต้นการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับองค์การการค้าโลก (WTO) โดยมีข้อผูกพันเปิดเสรีสินค้ามากกว่า 10,689 รายการ ซึ่งจะต้องลดภาษีภาษีนำเข้าลงโดยเฉลี่ย 4% นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น APEC , ความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) เป็นต้น
1.3. ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 สมาชิกเริ่มแรกมี 5 ประเทศ และต่อมาประเทศบรูไนฯ ได้เข้าร่วมเป็นประเทศที่ 6 ในปี พ.ศ. 2527 เรียกเป็นประเทศสมาชิกเดิม ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และบรูไน ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 10 ประเทศ อีก 4 ประเทศที่เพิ่มคือกลุ่มประเทศที่เรียกว่า CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนามตามลำดับ
1.4. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)ความตกลง ACIA มีขอบเขตครอบคลุมมิติการลงทุนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การเปิดเสรี (Liberalization) การคุ้มครอง (Protection) การส่งเสริม (Promotion) และการอำนวยความสะดวก (Facilitation) โดยมีวัตถุประสงค์หลักของ คือ ต้องการสร้างให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้เป็นภูมิภาคมีทีกฎระเบียบด้านการลงทุน (Investment Regime) ที่เปิดกว้างและเสรี (Open & Free) และในขณะเดียวกันเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการ (Integration) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านการลงทุน โดยสรุปความครอบคลุมในความตกลงได้ดังนี้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 10 ประเทศ อีก 4 ประเทศที่เพิ่มคือกลุ่มประเทศที่เรียกว่า CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนามตามลำดับ 1.5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทยความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้า ไทยมีความร่วมมือกับเวียดนามในด้านการค้าข้าวโดยผ่านสภาความร่วมมือค้าข้าว (Council on Rice Trade Cooperation) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน นอกจากนี้ ไทยแสดงท่าทีสนับสนุนเวียดนามให้เข้าร่วมในความร่วมมือด้านยางพาราสามฝ่าย (ไทย – มาเลเซีย – อินโดนีเซีย) มูลค่าการค้าระหว่างไทย-เวียดนาม ในปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่าโดยรวม 439,063.2 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 301,215.5 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้า 137,847.9 ล้านบาท ซึ่งซึ่งสินค้าส่งออกที่ไทยส่งไปยังเวียดนามที่สำคัญ ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหล็ก และผลไม้สด เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเวียดนามที่สำคัญ ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ และอาหารทะเล เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางด้านการทูต ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนาม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2519 และเปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงฮานอย และสถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ เมื่อปี พ.ศ. 2521 และ ปี พ.ศ. 2535 ตามลำดับ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย โดยสถานะความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย – เวียดนามในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดี มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
1.6. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล1) ในอดีตเวียดนามเคยมีปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง แต่ปัจจุบันปัญหาลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 โดยในปี พ.ศ. 2556 มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ร้อยละ 6.6 และคาดว่าในปี พ.ศ. 2557 มีอัตราร้อยละ 3.0 จากการหดตัวของความต้องการภายในประเทศ 2) เวียดนามยังขาดโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือน้ำลึก และพลังงานไฟฟ้า และต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในด้านนี้ ถึงแม้เวียดนามจะส่งออกพลังงานไฟฟ้าไปยังลาวและกัมพูชา แต่ก็ต้องนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศจีน ในอนาคตจะต้องเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำและถ่านหิน และถึงแม้เวียดนามจะผลิตน้ำมันดิบและถ่านหินได้เอง แต่ยังไม่มีโรงกลั่นได้เองทั้งหมด ส่วนหนึ่งจึงต้องส่งออกเป็นน้ำมันดิบ โรงกลั่นน้ำมัน Dung Quat ในจังหวัด Quang Nam มีกำลังผลิตวันละ 150,000 บาร์เรล สำหรับใช้ในประเทศ |
|