7.1. ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นข้อตกลงสาขาคมนาคมขนส่งภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion Cooperation: GMS) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement: CBTA)” ครอบคลุมการขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และส่งเสริมการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดย GMS ได้มีการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) ที่มีความสำคัญในการเชื่อมโยงเมียนมากับประเทศไทยไว้หลายช่องทางด้วยกัน
โครงข่ายเส้นทางเชื่อมโยงกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง 7.2. ช่องทางการขนส่งในประเทศช่องทางในการขนส่งสินค้าของกัมพูชา เพื่อการส่งออกไปต่างประเทศโดยเน้นสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีปริมาณมาก เช่น การขนส่งแร่หรือผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง นิยมส่งออก 4 ช่องทาง ได้แก่ การขนส่งทางถนน การขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางน้ำ และการขนส่งทางทะเล โดยมีรายละเอียดดังนี้
การขนส่งทางถนน
ประเทศกัมพูชามีเส้นทางตามระเบียงเศรษฐกิจตามข้อตกลงภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 3 เส้นทาง คือ เส้นทาง R1 เส้นทาง R10 เลียบฝั่งทะเล และเส้นทาง R9 สาขา เส้นทางที่สำคัญคือ R1 ทั้งสอง ที่เชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ กับพนมเปญ ผ่านทางปอยเปตและเกาะกง เส้นทางที่ผ่านปอยเปตจะเชื่อมต่อ มาจากทางหลวงหมายเลข 33 ของไทยมาเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 5 ในกัมพูชา เส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างกรุงพนมเปญและเมืองโฮจิมินห์ คือทางหลวงหมายเลข 1 ที่ลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านเมืองบาเวท ติดชายแดนเวียดนาม จากนั้นจะมีถนน 4 เลนเชื่อมต่อไปยังเมืองโฮจิมินห์ และท่าเรือ แต่ถนนในกัมพูชามีเพียง 2 เลน ทำให้วิ่งรถขนส่งได้ช้า เพราะมีการจราจรคับคั่งผ่านเมืองชุมชนขนาดเล็กหลายแห่ง
การขนส่งทางรถไฟ
กัมพูชามีเส้นทางรถไฟสำคัญ 2 สาย ได้แก่ สายเหนือ กรุงพนมเปญ–ศรีโสภณ ซึ่งรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ 20 ตัน และใช้ความเร็วสูงสุดได้ 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสายใต้ กรุงพนมเปญ–กัมปงโสม หรือสีหนุวิลล์ สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ 20 ตัน ขณะนี้รัฐบาลกัมพูชาอยู่ในระหว่างการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟช่วงศรีโสภณ-ปอยเปต ระยะทาง 48 ก.ม. เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของไทยที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อรองรับโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง ประเทศไทยจะต้องสร้างเส้นทางรถไฟระหว่างคลองลึก-อรัญประเทศ ระยะทาง 6 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อ ซึ่ง รฟท .ได้ออกแบบเสร็จแล้ว โดยจะรองรับรางรถไฟขนาด meter gauge (ที่มา : www.allaboutindustrial.com, 2016)
การขนส่งทางน้ำ
การขนส่งทางน้ำ มีท่าเรือระหว่างประเทศที่กรุงพนมเปญ และมีเส้นทางเดินเรือขนส่งภายในประเทศตามแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาขาอื่นๆ สินค้าที่ขนส่งประกอบด้วย น้ำมันปิโตรเลียม ตู้คอนเทนเนอร์ และสินค้าทั่วไป โดยใช้เรือ Barge ขนาดไม่เกิน 2,000 DWT ขนส่งตามลำน้ำโขงจากท่าเรือ Cai Mep และท่าเรือ HCMC (Ho Chi Minh City) ของเวียดนามมายังพนมเปญ ท่าเรือขนส่งทางน้ำที่สำคัญคือ ท่าเรือพนมเปญ (Phnom Penh Port) เป็นท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดเล็ก มีความยาวหน้าท่าประมาณ 183 เมตร และท่าลอยน้ำ 3 แห่ง รองรับเรือขนาดยาวไม่เกิน 100 เมตร สามารถรองรับเรือระวางบรรทุก 2,000 ตันในฤดูแล้ง และ 5,000 ตัน ในฤดูน้ำหลาก เนื่องจากตั้งอยู่ตอนในของประเทศจึงไม่สามารถรองรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ได้ เส้นทางการขนส่งทางน้ำในกัมพูชาและท่าเรือตามแม่น้ำ
การขนส่งทางทะเล
กัมพูชามีท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญคือท่าเรือนานาชาติสีหนุวิลล์ (Sihanoukville port) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีหน้าท่ากว้าง 550 เมตร เป็นท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่แห่งเดียวของประเทศและทันสมัยที่สุด สามารถรองรับเรือระวางบรรทุกสินค้าขนาด 10,000-15,000 ตันได้พร้อมกัน 4 ลำ นอกจากนี้ ยังมีท่าเทียบเรือขนาดเล็กสำหรับเรือลำเลียงที่มีขนาดใหญ่ด้วย ท่าเรือนี้มีบริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ บริการคลังสินค้า คลังน้ำมันเชื้อเพลิง และเขตเศรษฐกิจพิเศษ และมีทางหลวงหมายเลข 4 มาเชื่อมต่อเพื่อขนถ่ายสินค้าไปยังพนมเปญ และในอนาคตจะมีระบบขนส่งทางรางมาเชื่อมต่อ 7.3. การเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมายังประเทศไทยประเทศกัมพูชามีชายแดนติดต่อกับไทยเป็นระยะทาง 798 กม. โดยรัฐบาลไทยมีการพัฒนาและมีโครงการเชื่อมโยงระบบขนส่ง ได้แก่
การขนส่งสินค้า ณ ด่านคลองใหญ่ จังหวัดตราด ผู้ประกอบการอาศัยการขนส่งทางนํ้าเป็นหลัก เนื่องจากมีต้นทุนในการขนส่งที่ถูกกว่าการขนส่งทางบกค่อนข้างมาก โดยเวลาที่ใช้ในการขนส่งไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ก่อสร้างถนนสาย 318 เป็นถนนสี่เลน ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งทางน้ำลงกว่า 3 เท่าตัว และจะมาทดแทนการขนส่งทางน้ำในที่สุด ซึ่งถนนสาย 318 เป็นถนนโครงข่ายภาคตะวันออกสู่อินโดจีน (จากกรุงเทพฯ-ตราด ประเทศไทย – จังหวัดเกาะกง-กัมปงโสม (กรุงสีหนุวิลล์) ประเทศกัมพูชา สู่ภาคใต้ของประเทศเวียดนาม ท่าเรือโฮจิมินห์) ซึ่งถนนสายนี้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2553 7.4. พื้นที่การลงทุน ในประเทศกัมพูชา เขตเศรษฐกิจพิเศษคือ พื้นที่พิเศษสำหรับการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตและกิจกรรมอื่นๆ และรวมถึง General Industrial Zones และ/หรือ Export Processing Zones ด้วย โดยในแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องมีกิจกรรมการผลิต และอาจมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น เขตการค้าเสรี เขตการให้บริการ เขตที่พักอาศัยและเขตการท่องเที่ยวเพิ่มเติมประเทศกัมพูชามีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในหลายพื้นที่ เช่น (ที่มา : www.khmertimeskh.com) 7.5. ด่านชายแดนด่านชายแดนไทยที่มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนกัมพูชา ได้แก่
7.6. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของไทยรัฐบาลไทยมีนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2 รูปแบบ คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดยมีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรเพื่อสนับสนุน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และได้วางนโยบายพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียน เพื่อส่งเสริมศักยภาพเมืองประตูการค้าชายแดน และเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทยที่เชื่อมโยงกับกัมพูชา ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด 7.7. เส้นทางขนส่งแร่มายังประเทศไทยเนื่องจากแหล่งแร่ที่อาจจะเป็นเป้าหมายของผู้ลงทุนจากประเทศไทย ประกอบด้วย แหล่งแร่ทรายแก้ว แหล่งแร่ถ่านหิน และแหล่งแร่พลอย ทับทิมและเซอร์คอน ซึ่งการขนส่งแร่ดังกล่าวสามารถใช้เส้นทางในการขนส่งมายังประเทศไทยได้ดังนี้ การขนส่งแร่ทรายแก้ว แหล่งทรายแก้วที่สำคัญพบในจังหวัดเกาะกง และชายฝั่งอ่าวกัมปงโสม จึงสามารถขนส่งแร่ได้ 2 เส้นทาง ดังนี้ การขนส่งแร่ถ่านหิน สำหรับแหล่งถ่านหินที่พบในจังหวัด Oddar Meanchey นั้น หากสามารถนำเข้ามาใช้ในประเทศได้ อาจจะใช้ถนนสาย 67 ช่องสะงำ–อัลลองเวง–เสียมราฐ มาที่จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ หรือใช้ถนนสาย 68 ช่องจอม–กรอลัน มาที่ด่านช่องจอม จ.สุรินทร์ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของแหล่งแร่
7.8. สรุปและข้อเสนอแนะในภาพรวมกัมพูชายังต้องการพัฒนาระบบขนส่งทางรางรถไฟ ลำน้ำ ท่าเรือ และปรับปรุงถนนให้ได้มาตรฐานเพื่อขนส่ง ได้ปลอดภัยและรวดเร็วขึ้น และยังมีผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ในประเทศค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ ที่ว่าจ้างโดยอุตสาหกรรมสิ่งทอและรองเท้า สรุปปัญหาทางกายภาพของระบบขนส่ง
1) การขนส่งสินค้าทางถนนมีปัญหาการจราจรแออัด ป้ายจราจรยังไม่ได้มาตรฐานและไม่เพียงพอ เส้นทางถนนเชื่อมต่อชายแดน มีการใช้งานเต็มความสามารถและเสื่อมสภาพ และมีปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งข้ามแดน การปรับปรุงกฎระเบียบ การแลกเปลี่ยนสิทธิจราจร ข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุงที่ด่านพรมแดน
1) ควรสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมในพื้นที่ชายแดน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางการค้า เช่น บริเวณพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก-เมียวดี พื้นที่คลองใหญ่ จ.ตราด-เกาะกง เป็นต้น (ที่มา : www.esanguide.com, 2557) |
|