กฏระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศ

3.1. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

     รัฐส่งเสริมการลงทุนของทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยการวางนโยบายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม เงื่อนไขอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น การกำหนดทิศทาง การให้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น การให้นโยบายด้านภาษี – อากร ด้านแรงงาน การให้สิทธิ์ใช้ที่ดิน การบริการการลงทุนประตูเดียว (One Stop Service) รวมทั้ง การรับรู้ การรับประกัน การปกป้องกรรมสิทธิ์ สิทธิ ผลประโยชน์ และด้านอื่นที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ลงทุนจากรัฐ

     รัฐส่งเสริมให้ลงทุนในทุกสาขา กิจการ และทุกเขตแคว้นทั่วประเทศ ยกเว้นเขตและกิจการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและความสงบของชาติ มีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและระยะยาว ต่อสุขภาพของประชาชนและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ

 

(ที่มา : www.carriermanagement.com, 2016)

 

3.2. กฎหมายลงทุน

     สภาแห่งชาติลาวได้เห็นชอบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อใช้แทนกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนภายในฉบับเลขที่ 10/สพช. ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศฉบับเลขที่ 11/สพช. ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ดังนั้นภายใต้กฎหมายฉบับใหม่นี้นักลงทุนลาวและนักลงทุนต่างประเทศจะได้รับสิทธิประโยชน์เดียวกัน

     สาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ คือ การปรับปรุงการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนแบบ One Stop Service เพื่อลดขั้นตอนการกำหนดระยะเวลาพิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนให้ชัดเจนและการเสนอมาตรการส่งเสริมการลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีโดยพิจารณาจากประเภทกิจการและพื้นที่ที่ลงทุน และการอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิ์ใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย

 

 

(ที่มา : www.GrowthBusiness.co.uk, 2012)

 

3.3. สิทธิประโยชน์การลงทุน

     สปป.ลาว มีหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการลงทุนดำเนินการธุรกิจ คือ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Committee for Promotion and Management of Investment: CPMI) โดยทุกๆ การลงทุนของวิสาหกิจลงทุนต่างประเทศจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม ดังนี้
     1) กำไรที่นำไปขยายกิจการที่ได้รับอนุญาต จะได้รับการยกเว้นอากรกำไรในปีนั้นๆ
     2) วิสาหกิจต่างชาติสามารถส่งผลกำไร ทุน และรายรับอื่นๆ กลับประเทศของตน หรือประเทศที่สาม โดยผ่านธนาคารที่ตั้งอยู่ใน สปป.ลาว
     3) ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า และอากรที่เก็บจากการนำเข้าอุปกรณ์ เครื่องอะไหล่ พาหนะการผลิตโดยตรง วัตถุดิบที่ไม่มีอยู่ภายในประเทศ หรือมีแต่ไม่เพียงพอ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้ามาเพื่อแปรรูปหรือประกอบเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออก
     4) ได้รับยกเว้นภาษีขาออก สำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกด้วย
     5) อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่ลงทุนใน สปป.ลาว มากกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีสิทธิ์ถือครองที่ดินเพื่ออยู่อาศัยตามระยะเวลาของโครงการลงทุน (เป็นมาตรการใหม่)

 

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

     กฎหมายส่งเสริมและบริหารการลงทุนจากต่างประเทศใน สปป.ลาว กำหนดให้กิจการลงทุนใน 7 รายการ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ดังต่อไปนี้
         1) ยกเว้นภาษีนำเข้ายานพาหนะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต รวมทั้งวัตถุดิบ
            2) ยกเว้นภาษีส่งออกสำหรับสินค้าส่งออก หรือสินค้าส่งออกต่อ (Re-export)
          3) ลดอัตราภาษีกำไรให้กับธุรกิจที่ตั้งอยู่ห่างไกล โดยพิจารณาตามเขตพื้นที่การลงทุน

(ที่มา : www.asia.nikkei.com, 2015)

 

3.4. รูปแบบของการลงทุนจากต่างประเทศ

     รูปแบบการลงทุนจากต่างประเทศ มี 3 รูปแบบ คือ ธุรกิจร่วมสัญญา วิสาหกิจร่วมทุน วิสาหกิจลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

     สปป.ลาว มีการจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติไว้ในธุรกิจสถานโทรทัศน์และวิทยุ การคมนาคมขนส่งให้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 49 ส่วนธุรกิจประกันภัยต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 51 นอกจากนี้ สปป.ลาว ได้สงวนอาชีพบางประเภทไว้สำหรับคนลาวเท่านั้น ห้ามมิให้มีการขึ้นทะเบียนวิสาหกิจให้ผู้ลงทุนต่างชาติ หรือบริษัทต่างชาติ เช่น ธุรกิจด้านพลังงานและบ่อแร่ อุตสาหกรรมและการค้า โยธาฯและขนส่ง ท่องเที่ยว สาธารณสุข เป็นต้น

 

(ที่มา : www.craigstravels.com, 2016)                  

(ที่มา : www.jclao.com, 2014)     

 

3.5. ขั้นตอนการเข้าไปลงทุน

     รัฐบาลลาวได้กำหนดให้กระทรวงแผนการและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment: MPI) เป็นหน่วยงานกลาง ที่รับผิดชอบประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนกับหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดไว้ด้วยกัน ในลักษณะของ One-stop service หน่วยงาน MPI นี้จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับ BOI ของประเทศไทย แต่จะมีขอบเขตอำนาจที่กว้างกว่า เนื่องจากอำนาจของ MPI ไม่ได้ถูกจำกัดเพียงในด้านของการส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ แต่ครอบคลุมนักลงทุนทุกคน แม้ว่านักลงทุนดังกล่าวจะไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมาย แต่นักลงทุนดังกล่าวก็ต้องมาเสนอแผนการในการดำเนินธุรกิจกับทาง MPI ก่อนเสมอ

ขั้นตอนการขออนุญาตการลงทุน
(ที่มา: Department of Planning and Investment (DPI), Lao PDR. , 2015)

 

3.6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการลงทุน

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นคำขออนุญาตลงทุน
  • Ministry of Planning and Investment (MPI)

Investment Promotion Department, Ministry of Planning and Investment
Ban Sithan Neua, Luangprabang Rd.,
Sikhottabang District, Vientiane Capital, Lao PDR.
Tel: (856-21) 222 690, 219 568,218 377 Fax: (856-21) 215 491
Email: investinlao@gmail.com
Website: www.investlaos.gov.la

  • Laos National Chamber of Commerce and Industry (LNCCI)

Kayson phomvihane Ave., Ban Phonphanao
Saysettha District, Vientiane Capital, Lao PDR
P.O Box : 4596
Tel: (+856 – 21) 453 312 (ext 136) Fax: (+856 – 21) 452 580
Email: lncci@laopdr.com

 

หน่วยงานด้านการส่งเสริมการลงทุน

  • Department for the Promotion and Management of Domestic and Foreign Investment (DDFI)

Luang-Prabang Road, Ban Sithantay, Sikhottabong Dis-trict, Vientiane 0101 Lao PDR
Tel: 007 856 21 222691, 007 856 21 217005
Website: http://invest.laopdr.org

  • Ministry of Industry and Trade

Phon Xay Road, Phon Xay Village, Vientiane Lao PDR
Tel: 007 856 21 412009 Fax: (856-21) 215 491
Website: www.moic.gov.la

  • Enterprise Registration Office (ERO)

Enterprise Registration and Management Department (ERM)
Tel: 007 856 21 412001
Website: www.moc.gov.la

 

3.7. สถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศ

     ในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่าการลงทุนที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 4,792.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มียอดการโอนเงินลงทุนฯ ผ่านระบบธนาคาร 426.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 294.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2555 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.9 ส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม อาทิ เหมืองแร่ ไฟฟ้า และการค้า เป็นต้น ประเทศที่โอนเงินลงทุนเข้ามามากที่สุดคือ จีน (ร้อยละ 35.1 ของการลงทุนทั้งหมด) รองลงมาคือ ออสเตรเลีย (ร้อยละ 30.2) และยุโรป (ร้อยละ 11.7)
     สำหรับประเภทธุรกิจที่นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนส่วนใหญ่เป็น (1) ภาคบริการทางการเงิน (รวมธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งบริษัท Holding Company) (2) ภาคอุตสาหกรรมการผลิตด้านผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม อิเล็กทรอนิกส์ ยางและพลาสติก และ (3) ภาคการก่อสร้าง โดยในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่าการลงทุนในธุรกิจ 3 ประเภทนี้ 124.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ 43.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ และ 23.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ

 

(ที่มา : www.metso.com, 2015)

 

3.8. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล

     1) มีความมั่นคงทางการเมือง ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินสูง ค่าแรงไม่แพงมากนัก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีส่วนสนับสนุนการลงทุนใน สปป.ลาว
     2) สปป.ลาว ออกกฎหมายการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ (กรกฎาคม พ.ศ. 2552) โดยเน้นการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนผ่าน One Stop Service เพื่อลดขั้นตอนการกำหนดระยะเวลาพิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนให้ชัดเจน พร้อมทั้งออกมาตรการส่งเสริม การลงทุนเพิ่มเติมด้วย
     3) การขออนุญาตลงทุนในแขวงต่างๆ ของ สปป.ลาว เจ้าแขวงมีอำนาจในการอนุญาตตามมูลค่าเงินลงทุน และขนาดพื้นที่ ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้กับนักลงทุนขนาดกลางที่ต้องการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นฐานการผลิต หรือการลงทุนตามแนวชายแดน ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์
     4) นักลงทุนไทยลงทุนเป็นอันดับ 7 ของนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด ซึ่งในอดีตไทยเคยเป็นอันดับ 1 แสดงให้เห็นว่าประเทศอื่นๆ เล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศจีน ทำให้มีการเร่งรุกขยายการลงทุนเข้ามาในสปป.ลาวเพิ่มมากขึ้นในทุกปี ดังนั้นรัฐบาลไทยควรมีการกระตุ้น สนับสนุนส่งเสริมให้นักลงทุนไทยเข้าไปแข่งขันลงทุนเพิ่มมากขึ้น และในหลากหลายสาขา

 

(ที่มา : www.mmg.com)

     กฏระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศ

  1. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
  2. กฏหมายลงทุน
  3. สิทธิประโยชน์การลงทุน
  4. รูปแบบการลงทุนจากต่างประเทศ
  5. ขั้นตอนเข้าไปลงทุน
  6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. สถานการณ์การลงทุน
  8. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล


ประเทศลาว

Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา