3.1. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศรัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศอย่างมาก จึงมีนโยบายส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขระเบียบการลงทุนที่เอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติ เช่น การอำนวยความสะดวกและการให้สิทธิ์ต่าง ๆ แก่โครงการที่ได้รับการส่งเสริม อนุญาตให้นักลงทุนโอนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี เพื่อจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนอันจะส่งผลต่อการสร้างงานที่ก่อให้เกิดรายได้กับประชาชน และเร่งรัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้สิทธิ์เป็นเจ้าของสินทรัพย์ทุกอย่างยกเว้นที่ดิน แต่ก็สามารถเช่าได้นานถึง 99 ปี และอนุญาตให้นักลงทุนเป็นเจ้าของกิจการบางประเภทได้ร้อยละ 100 และให้การรับประกันนักลงทุนในการกำหนดราคาสินค้าที่ผลิตขึ้น การให้สิทธิ์ในการส่งออกเงินทุน ผลกำไรของกิจการ และยังสามารถลงทุนด้วยเงินทุนของตนเองทั้งหมด นอกจากนั้นในกรณีที่ขาดแรงงานที่มีฝีมือภายในประเทศ ก็สามารถจ้างแรงงานต่างชาติที่มีฝีมือมาทำงานได้ รวมทั้งได้เร่งปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความโปร่งใสและลดขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบการลงทุนมากขึ้นด้วย
3.2. กฎหมายลงทุนเพื่อจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน และสร้างงานอันจะก่อให้เกิดรายได้กับประชาชนและเร่งรัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลกัมพูชาได้ออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2537 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2546 (Law on Investment of the Kingdom of Cambodia 1994/Amendment 2003) ให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนว่าจะได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินในทุกๆ ด้านเท่าเทียมกับบุคคลในชาติ และไม่ใช้นโยบายกำหนดราคาสินค้าหรือบริการกับโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริม พร้อมให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยกำหนดให้ The Council for the Development of Cambodia (CDC) เป็น One-Stop Service ทำหน้าที่บริหารจัดการกิจกรรมการลงทุนทั้งหมดของประเทศ ทั้งการพิจารณาอนุมัติโครงการและการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน
3.3. สิทธิประโยชน์การลงทุนกฎหมายลงทุนของกัมพูชากำหนดสิทธิประโยชน์ไว้หลายด้าน ทั้งสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ดังนี้
การเลือกวิธียกเว้นภาษีกำไรหรือวิธีการใช้ค่าเสื่อมราคา
โครงการที่ได้รับส่งเสริมลงทุน (Qualified Investment Projects: QIPs) จะต้องเลือกระหว่างการได้ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีกำไรหรือการประเมินค่าเสื่อมราคาแบบพิเศษ อย่างใดอย่างหนึ่ง
3.4. รูปแบบของการลงทุนจากต่างประเทศผู้ลงทุนชาวต่างชาติสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนในกัมพูชาได้ 4 แบบ คือ กิจการที่ใช้เงินลงทุนของคนต่างชาติ 100%, กิจการร่วมทุน (Joint Ventures, JV), Build-Operate-Transfer (BOT), Business Cooperation Contract (BCC) โดยผู้ลงทุนสามารถจดทะเบียนเพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลกัมพูชาได้ด้วย
3.5. ขั้นตอนการเข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมาตามกฎหมายลงทุนของกัมพูชา ได้กำหนดให้ The Council for the Development of Cambodia (CDC) มีหน้าที่หลักในการบริหารจัดการกิจกรรมการลงทุนทั้งหมดของประเทศ ทั้งการพิจารณาอนุมัติโครงการ และการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน และกำหนดให้ CDC เป็น One-Stop Service ที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูล รับคำขอ อนุมัติโครงการลงทุนและให้สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมลงทุน และจัดตั้งธุรกิจ แต่กฎหมายได้กำหนดให้ CDC ต้องนำเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบก่อน
3.6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการลงทุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการลงทุนในประเทศกัมพูชา ยกตัวอย่างเช่น
Cambodian Investment Board (CIB)
No. 445, Preah Monivong (St. 93), Phnom Penh Tower, 12th Floor, 12258 Phnom Penh.
No. 41 Russian Federation Boulevard, Phnom Penh, Cambodia
No. 20 A-B, Preah Norodom Boulevard., Phnom Penh, Cambodia 3.7. สถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศ กัมพูชา ให้ความสำคัญกับการลงทุนจากต่างประเทศ มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) ในพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการค้าและการลงทุนในเมืองเศรษฐกิจสำคัญ ส่งผลให้สามารถดึงดูดการลงทุนได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการลงทุนจากจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน 3.8. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล
(ที่มา : www.realestate.com.kh, ) |
กฏระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศ
|