กฏระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศ

3.1. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

      รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment: FDI) และได้ประกาศใช้กฎหมาย Foreign Investment Law (FIL) โดยมีเป้าหมายให้มีการลงทุนในทรัพยากรธรรมชาติของเมียนมา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศใน 3 ด้าน คือ
      1) ด้านการสร้างงาน กระจายรายได้ประชากร พัฒนาฝีมือแรงงาน
      2) มีการพัฒนาเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable growth)
      3) ประสานไปกับระบบเศรษฐกิจของนานาชาติ

(ที่มา : Joshua Kurlantzick, 2011)

3.2. กฎหมายลงทุน

      กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมา ต้องการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินเศรษฐกิจแบบเปิดเพื่อการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ จึงได้สร้างหลักประกันและการคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนี้

  1. ธุรกิจที่ดำเนินการภายใต้กฎหมายนี้จะได้รับการคุ้มครอง จะไม่ถูกยึดหรือครอบครองโดยรัฐ หรือจะได้รับการชดเชยตามมูลค่าตลาดในกรณีที่จำเป็น
  2. อนุญาตให้นำเงินตราต่างประเทศเข้า-ออกได้
  3. อนุญาตให้โอนกำไรจากการประกอบกิจการกลับได้ หลังหักภาษีที่เกี่ยวข้อง
  4. ให้โอนเงินทุนกลับเมื่อสิ้นสุดโครงการ
  5. อนุญาตให้คนงานต่างชาติเข้ามาทำงานและส่งเงินค่าจ้างกลับหลังหักภาษีที่เกี่ยวข้อง
  6. สามารถเช่าที่ดินระยะยาว (Long term lease) ได้ทั้งจากรัฐบาลและเอกชน

      ในปี 2012 ประเทศเมียนมาได้ออกกฎหมาย Foreign Investment Law (FIL) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 แทนกฎหมาย Myanmar Investment Law (1988) ฉบับเก่า เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยคณะกรรมาธิการลงทุนของเมียนมา(Myanmar Investment Commission: MIC) จะเป็นผู้ควบคุมและดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย FIL

 

 

3.3. สิทธิประโยชน์การลงทุน

 

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

กฎหมาย FIL (2012) ได้ให้สิทธิพิเศษเพื่อสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี
  • ให้นำผลขาดทุนสุทธิย้อนหลัง 3 ปีมาลดหย่อนภาษีได้
  • ลดหย่อนภาษีจากการนำกำไรสะสมที่เก็บเป็นทุนสำรองมาลงทุนเพิ่ม
  • ยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับเครื่องจักร และวัสดุที่นำเข้ามาใช้ในช่วงเริ่มต้นก่อสร้าง
  • คำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินแบบอัตราเร่งตามอัตราที่กำหนดโดย MIC
  • ยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาใช้ในช่วง 3 ปีแรกของการผลิต
  • ลดหย่อนภาษีเงินได้ถึง 50% ของกำไรที่ได้จากการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก
  • ยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับเครื่องจักร อะไหล่ และวัสดุ ที่นำเข้ามาขยายการผลิตภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
  • สิทธิ์ในการจ่ายภาษีเงินได้สำหรับคนต่างชาติที่พำนักในประเทศ
  • ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก
  • ลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาที่ดำเนินงานในประเทศเมียนมา
 

 

สิทธิประโยชน์อย่างอื่น

1) นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิใช้ที่ดินในประเทศเมียนมาโดยการเช่า ไม่ว่าจะเช่าจากหน่วยงานของรัฐหรือจากเอกชนเป็นระยะเวลา 50 ปี และสามารถต่อสัญญาเช่าได้ครั้งละ 10 ปี 2 ครั้ง
2) ในช่วง 2 ปีแรกของการดำเนินการ นักลงทุนต่างชาติสามารถจ้างแรงงานต่างชาติได้ แต่จะต้องมีการจ้างแรงงานสัญชาติเมียนมาในสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 25 ของการจ้างงานทั้งหมด

 

 

3.4. รูปแบบของการลงทุนจากต่างประเทศ

      รูปแบบการลงทุนที่กำหนดตามกฎหมาย FIL (2012) เพื่อให้ได้รับพิจารณาอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก MIC มี 3 รูปแบบ คือ (1) การลงทุนที่ชาวต่างชาติถือหุ้นร้อยละ 100 (2) การร่วมทุนกับผู้ลงทุนสัญชาติเมียนมา และ(3) การลงทุนในรูปแบบอื่น ที่ผู้ลงทุนต่างชาติดำเนินการตามสัญญาผูกพันที่ทำไว้กับนักลงทุนในท้องถิ่น (Mutual contract agreement)
ผู้ลงทุนต่างชาติในบางประเภทของกิจการสามารถใช้ทางเลือกในการลงทุนตามกฎหมาย My-anmar Companies Act (1914) แต่จะมีข้อด้อยกว่า FIL ที่จะไม่สามารถเช่าที่ดินในระยะยาวได้ ไม่ได้รับการส่งเสริมลงทุนในด้านภาษีและใบอนุญาตทำงาน และไม่ได้รับการคุ้มครองถ้ามีการเปลี่ยนแปลง กฎหมายในอนาคต นักลงทุนส่วนใหญ่จึงหลีกเลี่ยงช่องทางนี้ เว้นแต่เป็นการลงทุนขนาดย่อม เพราะกฎหมายนี้กำหนดวงเงินลงทุน ขั้นต่ำไม่มาก และมีขั้นตอน ขออนุญาตที่ไม่ซับซ้อนในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2012 ทางคณะกรรมาธิการ MIC ได้ออกหนังสือเตือนคนต่างชาติที่ลงทุน ในบริษัทท้องถิ่นผ่านตัวแทนชาวเมียน มาว่าจะไม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองทางกฎหมาย และแนะนำให้คนต่างชาติลงทุนตามกฎหมาย FIL ผ่านทางบริษัทที่จดทะเบียนกับ Directorate of Investment and Company Administration (DICA) ที่มีการรับรองผู้ถือหุ้นและกรรมการบริหารตามกฎหมาย Myanmar Companies Act (1914) เท่านั้น

3.5. ขั้นตอนการเข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมา

      นักลงทุนจากต่างชาติต้องยื่นขออนุมัติโครงการลงทุนต่อ Myanmar Investment Commission (MIC) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย FIL และพิจารณาอนุมัติข้อเสนอโครงการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง โดยขั้นตอนการยื่นขอใบอนุญาตลงทุน (Investment Permit) ในประเทศเมียนมา มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

3.6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการลงทุน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนจากต่างประเทศ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ 2 หน่วยงาน และเอกชน 1 หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

หน่วยงานภาครัฐ
  • Myanmar Investment Commission Office (MIC)

Myanmar Investment Commission Office (MIC
Directorate of Investment and Company Administration
Ministry of National Planning and Economic Development
Website: www.dica.gov.mm

  • Directorate of Investment and Company Administration (DICA)

Ministry of National Planning and Economic Development
Building No. 32, Nay Pyi Taw, Myanmar
Tel: 95-67-406342; 406124; 406124 Fax: 95-67-406074
Website: www.dica.gov.mm

 

หน่วยงานภาคเอกชน
  • Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry (UMFCCI)

UMFCCI Office Tower No. 29, Min-Ye-Kyaw-Swar Road, P.O. Box 1557
Lanmadaw Township, Yangon
Tel: 95-1-214344-49 Fax: 95-1-214484
Website: www.umfcci.net

3.7. สถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศ

      จากรายงานเศรษฐกิจการเงินในประเทศเมียนมา ของธนาคารแห่งประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2556/57 ยอดเงินลงทุนจากต่างประเทศ รวมเป็นเงิน 46.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนสูงสุด จำนวน 14.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละ 30.8) รองมา คือ ไทย จำนวน 10.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละ 21.8) และฮ่องกง จำนวน 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละ 14.1) ตามลำดับ
โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาจะลงทุนในธุรกิจพลังงานสูงสุด โดยคิดเป็นร้อยละ 41.7 รองลงมาคือ ธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ 31.1 ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 8.6 และธุรกิจเหมืองแร่ คิดเป็นร้อยละ 6.2 ตามลำดับ

(ที่มา : ITE Oil & Gas, 2015)

 

3.8. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล

      1. ปัจจุบันเมียนมากำลังปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจให้เข้ามาสู่ระบบตลาดมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพัฒนาประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน สร้างรายได้ และถ่ายทอด เทคโนโลยี พร้อมกับตอบรับกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการค้าของเมียนมาซึ่งจะทำการค้าขาย กับประเทศในแถบเอเชีย เป็นหลัก การค้าระหว่างไทยกับเมียนมามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเมียนมามีการเปิดประเทศมากขึ้น และมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ส่งผล ต่อความต้องการวัตถุดิบเหล่านั้นเพื่อนำมาใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมภายในประเทศไทย

(ที่มา : Business Information Center, 2015)

      2. รูปแบบการลงทุนจากต่างประเทศ มีทั้งลงทุน 100% การร่วมทุนกับภาคเอกชนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ และการลงทุนตามสัญญาข้อตกลงระหว่างสองฝ่าย ประกาศภายใต้กฎหมาย FIL (2012) และ State-Owned Economic Enterprises Law (1989) ได้กำหนดรูปแบบการลงทุนจากต่างประเทศ และกำหนดประเภท กิจการที่สงวนไว้สำหรับคนในชาติ หรือผูกขาดสำหรับหน่วยงานของรัฐ และกิจการต้องห้ามสำหรับการลงทุนจากต่างชาติ

      3. การขออนุญาตลงทุนจากต่างประเทศ จะต้องขออนุมัติจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากกระทรวงที่มีหน้าที่โดยตรง ก่อนที่ข้อเสนอโครงการจะส่งต่อไปยัง MIC ซึ่งจะต้องปรึกษากับกระทรวงอื่นๆ และรัฐในท้องถิ่น ทำให้ต้องมีการเจรจาหลายขั้นตอนและหลายหน่วยงาน

(ที่มา : www.asianews.it, 2014)

      4. นักลงทุนจากประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของนโยบายและกฎระเบียบของประเทศเมียนมา ซึ่งยังไม่หยุดนิ่งและชัดเจนนอกจากนี้จะต้องคำนึงถึง ปัญหาด้านสิทธิ์ในการครอบครองหรือใช้ประโยชน์ที่ดิน การทำรายงานศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดทำแผนด้านชุมชนสัมพันธ์ และขีดความสามารถ ของคนงานในท้องถิ่น

     กฏระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศ

  1. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
  2. กฏหมายลงทุน
  3. สิทธิประโยชน์การลงทุน
  4. รูปแบบการลงทุนจากต่างประเทศ
  5. ขั้นตอนเข้าไปลงทุน
  6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. สถานการณ์การลงทุน
  8. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล


ประเทศเมียนมาร์

Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา