6.1. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และก่อสร้างในปัจจุบันกัมพูชาอยู่ในช่วงของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งการคมนาคม พลังงาน แหล่งน้ำ และสื่อสาร และในบางโครงการรัฐบาลกัมพูชาได้สนับสนุนให้สัมปทานกับภาคเอกชนลงทุนก่อสร้างแบบ Build-Operate-Transfer (BOT) ด้วย ทำให้มีเงินลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้างจำนวนมาก ทำให้อุปกรณ์ก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างสำหรับโครงการก่อสร้างต่างๆ เป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศเกาหลี ไทย เวียดนามและจีน ในปี พ.ศ. 2549 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ได้เข้าไปลงทุนทำเหมืองและโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ที่จังหวัดกัมปอต ด้วยอัตราการผลิตปูนซีเมนต์ 1,000,000 ตันต่อปี และในปี พ.ศ. 2558 ได้ขยายกำลังการผลิตเป็น 2,000,000 ตันต่อปี มีพนักงานกัมพูชาทั้งหมด 461 คน คนไทยอีก 31 คน
(ที่มา : www.rfs-th.com) 6.2. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอุตสาหกรรมอัญมณี เช่น การเจียระไนพลอยจะใช้แรงงานทำด้วยมือ และเป็นอุตสาหกรรมในท้องถิ่น การปรับปรุงคุณภาพพลอยเซอร์คอนที่ได้จากจังหวัด Ratanakiri เมื่อนำมาเผาจะให้สีฟ้า เพราะมียูเรเนียมแทรกอยู่ในอะตอมของแร่ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว การหุงพลอยที่ได้จากจังหวัด Pailin จะใช้กรรมวิธี เผาในเตา Drum furnace โดยมีถ่านโค้กเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้ได้พลอยสีฟ้าใส
การเจียระไนพลอยจากเซอร์คอน และสีของพลอยหลังจากการเผา 6.3. อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีเนื่องจากกัมพูชาเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงมีการผลิตปุ๋ยเพื่อใช้ในการเพิ่มผลผลิตในภาคเกษตรกรรมภายในประเทศด้วย โดยในปี ค.ศ. 2011 กัมพูชานำเข้าปุ๋ยเคมี (ผลิตภัณฑ์ N P K) 433,120 ตัน จากเวียดนาม (65%) และประเทศไทย (35%) โดยอาจจะแยกนำเข้าสารแต่ละชนิด เช่น นำเข้าไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียมไนเตรตและยูเรีย โปแตชเซียมในรูปของโปแตชเซียมคลอไรด์ แล้วนำมาผสมกันในโรงงานผสมปุ๋ย ในปี ค.ศ. 2013 กัมพูชามีโรงงานผสมปุ๋ยที่จังหวัด Kandal โดยเป็นการลงทุนของบริษัท Five Star International Group จากประเทศเวียดนาม และบริษัท Investment and Development ของกัมพูชา มีกำลังผลิตปุ๋ย NPK ปีละ 350,000-500,000 ตัน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ปุ๋ยปีละ 617,000 ตัน
(ที่มา : www.Shutterstock.com) |
ประเทศกัมพูชา |