กฏระเบียบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 

5.1. นโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรแร่และการทำเหมืองแร่

สำหรับนโยบายหลักด้านแร่ของประเทศ รัฐได้กำหนดนโยบายระยะยาวและแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ของประเทศถึงปี ค.ศ. 2020 และวิสัยทัศน์ถึงปี ค.ศ. 2030 เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแร่ ดังนี้ (Prime Minister Decision No. 2427/2011, Resolution No. 103/2011)

> สนับสนุนให้มีการสำรวจแหล่งแร่และทำเหมืองแร่ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ และมีการแต่งแร่และใช้ประโยชน์จากแร่อย่างมีประสิทธิภาพ> สนับสนุนการลงทุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ แต่งแร่ โดยให้สิทธิพิเศษสำหรับกิจกรรมด้านแร่ในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ที่ขาดแคลนสาธารณูปโภค โครงการผลิตแร่ที่มีความต้องการใช้ในท้องถิ่น โครงการที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และที่ให้ผลผลิตที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม และมีประสิทธิภาพ> สนับสนุนโครงการลงทุนด้านเหมืองแร่ที่มุ่งเน้นไปยังการใช้แร่ที่ผลิตได้เพื่อผลิตโลหะและโลหะผสม หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่มีคุณค่าสูงทางเศรษฐกิจสังคม> ปกป้องสิทธิ์การเป็นเจ้าของ ต่อเงินทุน ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ทางกฎหมายต่างๆ ขององค์กรและบุคคลในกิจกรรมด้านแร่ตามที่กฎหมายต่างๆ บัญญัติไว้> นโยบายในการให้รัฐวิสาหกิจของประเทศเป็นผู้นำในการทำเหมืองและแต่งแร่ที่สำคัญ> สนับสนุนการส่งออกแร่ หรืออาจให้ส่งออกเมื่อเป็นแร่จากแหล่งแร่ขนาดใหญ่ที่ผ่านการแต่งแร่และเพิ่มมูลค่าแล้ว

5.2. กฎหมายแร่

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 สภาแห่งชาติเวียดนามได้รับรองกฎหมายแร่ฉบับใหม่ (Min-erals Law No.60/2010) และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการสำรวจทางธรณีวิทยาวิทยาแหล่งแร่ การปกป้องทรัพยากรแร่ที่ยังไม่ได้มีการทำเหมือง การสำรวจแร่ การทำเหมืองแร่ และการบริหารจัดการแร่ในประเทศทั้งหมด ยกเว้นในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่ไหล่ทวีป การสำรวจและการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และน้ำแร่ ไม่ได้รวมอยู่ในกฎหมายนี้


รูปที่ 5.1 (ที่มา : www.new.abb.com, 2015)


5.3. รูปแบบของการลงทุนทำเหมืองแร่ในประเทศกัมพูชา

รูปแบบการลงทุนทำเหมืองแร่ในประเทศเวียดนาม ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ รัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด การลงทุนโดยภาคเอกชนที่เป็นบริษัทสัญชาติเวียดนาม และการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการร่วมทุน แต่โดยทั่วไปนั้นการทำเหมืองแร่ที่ช่วยรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน แร่เหล็ก และทองคำ มักจะให้ใบอนุญาตกับรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ ส่วนชนิดแร่ที่มีความสำคัญน้อยกว่าจะให้ภาคเอกชนหรือต่างชาติเข้ามาดำเนินการ

การลงทุนของต่างชาติมักจะอยู่ในการผลิตหินปูนและแร่สำหรับอุตสาหกรรมซีเมนต์ เช่น บริษัท Nghi Son, Chinfon, Lask Vietnam cement Co. การทำเหมือง Carbonate Calcium คือ บริษัท YBB Joint Stock Co. เป็นต้น


รูปที่ 5.2 (ที่มา : www.mottvisualsblog.wordpress.com, 2015)


5.4. ขั้นตอนและเงื่อนไขการขออนุญาตด้านแร่

ผู้ลงทุนจะต้องยื่นขออนุญาตกับ Department of Geology and Minerals of Vietnam (DGMV) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับเรื่องสำหรับขออนุมัติจาก Ministry of Natural Resources and Environment (MONRE) หรือยื่นขออนุญาตผ่าน Department of Natural Resources and Environment ซึ่งเป็นหน่วยงานส่วนท้องถิ่นรับเรื่องสำหรับขออนุมัติจาก People’s committees ระดับจังหวัด


5.5. ภาษีและค่าธรรมเนียมด้านแร่

กฎหมายแร่ได้กำหนดค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียมด้านใบอนุญาต โดยจะต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตสิทธิ์ทำเหมืองของแหล่งแร่ที่ระบุในใบอนุญาตทำเหมืองแร่


รูปที่ 5.3 ภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศเวียดนาม
(ที่มา: Vietnam Chamber of Commerce and Industry (VCCI), 2011)


5.6. การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน

โครงการเหมืองแร่ทั้งหมดจะต้องได้รับการประเมินจากคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้แทนจาก Ministry of Natural Resources and Environment, Ministry of Industry and Trade, Ministry of Construction และผู้แทน Provincial People’s Committee จากจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็นโครงการที่ใช้วิธีการทำเหมืองที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


รูปที่ 5.4 (ที่มา : www.baohagiang.vn, 2013)


5.7. หน่วยงานด้านแร่

หน่วยงานภาครัฐ

> Ministry of Natural Resources and Environment of Vietnam (MONRE)

10 Ton That Thuyet-Cau Giay- Ha Noi

Tel: (043) 7956868 Fax : (043) 8359221

E-Mail: portal@monre.gov.vn

Website: http://www.monre.gov.vn/

> General Department of Geology and Minerals of Vietnam (GDGMV)

6 – Pham Ngu Lao street, HaNoi, VietNam.

Tel: (844) 38 260 674 Fax : (844) 38 254 734

E-Mail: webmaster@dgmv.gov.vn

Website: www.dgmv.gov.vn/

หน่วยงานภาคเอกชน

> Vietnam National Coal-Mineral Industries Holding Corp. (Vinacomin

เป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยรัฐ 100% ตั้งขึ้นเพื่อผลิตแร่พลังงาน เช่น ถ่านหิน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เป็นผู้ผลิตถ่านหินร้อยละ 95% ของทั้งประเทศ สำหรับป้อนให้โรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรม และยังเป็นผู้ลงทุนในโรงไฟฟ้า สำรวจและทำเหมืองแร่อื่นๆ ด้วย


5.8. สถานการณ์อุตสาหกรรมแร่

ในปี ค.ศ. 2012 เวียดนามผลิตแร่หลายชนิด เช่น แร่โครเมียม บอกไซต์ แบไรต์ ถ่านหิน ฟอสเฟต อิลมิไนต์ ตะกั่ว ไทเทเนียม และเซอร์โครเนียม และผลิตภัณฑ์จากแร่ เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็กกล้า โลหะดีบุก โลหะทองแดง และโลหะสังกะสี โดยอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเหมืองหินสร้างมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 9.57 ของ GDP ของประเทศ แร่ส่งออกที่สำคัญคือ ถ่านหิน ปริมาณ 15.2 ล้านตัน


รูปที่ 5.5 (ที่มา : www. vietnamnews.vn, 2016)


5.9. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านแร่

1) นโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านแร่ของประเทศเวียดนาม จะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการลงทุนมากกว่าปัญหาด้านเทคนิค ตัวอย่างเช่น นโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ไว้ใช้ในประเทศ ที่ห้ามการส่งออก และสงวนการทำเหมืองแร่หลายชนิดสำหรับองค์กรของรัฐ เป็นต้น

2) โดยทั่วไปนั้นการทำเหมืองแร่ที่ช่วยรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน แร่เหล็ก และทองคำ มักจะให้ใบอนุญาตกับรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ และชนิดแร่ที่มีความสำคัญน้อยกว่าจึงจะให้ภาคเอกชนหรือต่างชาติเข้าดำเนินการ

3) กฎหมายแร่ฉบับใหม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการประมูลสิทธิ์ทำเหมืองแร่ (Fee for granting mining rights) ซึ่งการประมูลนี้คาดว่าจะลดปัญหาการคอร์รัปชั่น และเพิ่มความโปร่งใสในการปฏิบัติงานได้ แต่ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการขอใบอนุญาต นอกเหนือจากค่าภาคหลวงแร่ที่มีอัตราค่อนข้างสูง และค่าธรรมเนียมป้องกันสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองที่คิดต่อตันแร่ที่ผลิตได้


รูปที่ 5.6 (ที่มา : www.talkvietnam.com, 2013

     กฏระเบียบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. นโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรแร่และการทำเหมืองแร่
  2. กฎหมายแร่
  3. รูปแบบของการลงทุนทำเหมืองแร่ในประเทศลาว
  4. ขั้นตอนและเงื่อนไขการขออนุญาตด้านแร่
  5. ภาษีและค่าธรรมเนียมด้านแร่
  6. การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน
  7. หน่วยงานด้านแร่
  8. สถานการณ์อุตสาหกรรมแร่
  9. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านแร่


ประเทศเวียดนาม

Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา