กฏระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศ

3.1. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ่

กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนามที่ใช้ในปัจจุบัน คือ Unified Enterprise Law และ Common Investment Law ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 โดยรัฐบาลได้รับประกันว่าจะให้การปฏิบัติต่อนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนามอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันในด้านต่างๆ ดังนี้

1) ไม่มีการยึดทรัพย์สินหรือโอนกิจการลงทุนของต่างประเทศเป็นของรัฐ ตลอดช่วงระยะเวลาของการลงทุน

2) ให้การรับประกันว่าจะปกป้องสิทธิ์ในทรัพย์สินอุตสาหกรรม และผลประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในเวียดนาม

3) รัฐบาลจะปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนอย่างสมเหตุสมผล หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุน

4) รัฐบาลรับประกันการให้สิทธิ์การโอนย้ายไปต่างประเทศ เช่น กำไรจากการดำเนินธุรกิจ เงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้จากต่างประเทศ รายได้หลังหักภาษีรายได้ เป็นต้น

5) เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ร่วมทุน สามารถเสนอให้อนุญาตตุลาการหรือองค์กรอื่นๆ ตามที่ตกลงกันเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมได้

6) อนุญาตให้บริษัทต่างชาติดำเนินการลงทุนได้ 50 ปี และสามารถต่อเวลาได้ถึง 70 ปี


รูปที่ 3.1 (ที่มา : www.prelaunch.sg)


3.2. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

รัฐบาลเวียดนามได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและดึงดูดให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2014 ได้แก้ไขกฎหมายสองฉบับ คือ Enterprise Law และ Investment Law เพื่อส่งเสริมการลงทุนและคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ลงทุนและลดอุปสรรคของการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 มีสาระสำคัญดังนี้

Law on Enterprises No.60/2005/QH11

1) เป็นกฎหมายที่ควบคุมการก่อตั้งการบริหารจัดการ และการดำเนินการของวิสาหกิจ (Law on Enterprise) ส่วน Decree on Enterprise Registration No. 43/2010/ND-CP เป็นกฎหมายลูกของ Law on Enterprises โดยระบุรายละเอียดของระบบการจดทะเบียน คำร้อง ส่วนประกอบของคำร้อง การเปลี่ยนแปลงรายการ คำสั่ง และขั้นตอนของการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งสำหรับวิสาหกิจภายใต้ Law on Enterprises และธุรกิจในครัวเรือนี้

Investment Law No.59/2005/QH11

2) เป็นกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของนักลงทุน การปกป้องสิทธิ์อันถูกต้องตามกฎหมายของนักลงทุนในการดำเนินกิจกรรมการลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่รัฐให้การสนับสนุน และการจัดการการลงทุนในประเทศเวียดนามและการลงทุนในต่างประเทศจากประเทศเวียดนาม


3.3. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

เวียดนามให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะการลงทุนด้านพลังงาน และเน้นการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมที่เอื้อต่อการผลิตสินค้าที่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ รวมถึงเพื่อให้เกิดการสร้างงานและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งนโยบายสำคัญในการส่งเสริมการลงทุน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) มาตรการด้านภาษี เช่น การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราเท่ากับนักลงทุนท้องถิ่น การยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับเป็นทุนของบริษัท

2) มาตรการด้านการเงินการธนาคาร โดยอนุญาตให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศประกอบธุรกิจที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้

3)   การจัดตั้งเขตส่งเสริมการส่งออก และเขตพื้นที่อุตสาหกรรม ต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดอัตราภาษีที่ต่ำเป็นพิเศษ สำหรับธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในเขตอุตสาหกรรม

4) มาตรการอื่นๆ ที่ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ เช่น ระยะเวลาในการเช่าที่ดิน การใช้ที่ดินเป็นหลักประกันการกู้เงินได้ การรับประกันความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และการยกเลิกระบบ 2 ราคา เช่น ตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟ ค่าบริการสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น


รูปที่ 3.2 (ที่มา : www.talkvietnam.com, 2013)


3.4. รูปแบบของการลงทุนจากต่างประเทศ

การลงทุนของต่างชาติในเวียดนามสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งในรูปสัญญาร่วมลงทุน กิจการร่วมทุน กิจการที่ต่างชาติเป็นเจ้าของทั้งหมดและกิจการลงทุนดำเนินการแล้วโอนให้รัฐ (BOT)

ข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติขึ้นอยู่กับรูปแบบของการลงทุน นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 % ในบริษัทมหาชนได้ ยกเว้นข้อห้ามที่ระบุไว้ในกฎหมายอื่น เช่น Law on Credit Institutions ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและธนาคาร หรือในธุรกิจบางประเภทที่ยังห้ามถือหุ้นเกิน 49% หรือในรัฐวิสาหกิจบางประเภท อย่างไรก็ดี ในกิจกรรมร่วมทุน (Joint Venture Enterprise: JV) นักลงทุนต่างชาติจะต้องมีสัดส่วนการลงทุนไม่ต่ำกว่า 30 % ของเงินทุนทั้งหมด


รูปที่ 3.3 (ที่มา : www.cdn.static.tuoitre.vn, 2014)


3.5. ขั้นตอนการเข้าไปลงทุน

นักลงทุนหรือบริษัทลงทุนต่างชาติต้องดำเนินการขอใบอนุญาตการลงทุนจากกระทรวงวางแผนและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment) ซึ่งเป็นตัวกลางในการขอความเห็นชอบจากกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบคือ Department of Planning and Investment (DPI) โดย DPI สามารถอนุมัติโครงการในพื้นที่นครฮานอยและโฮจิมินห์ที่มีมูลค่าไม่เกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในจังหวัดอื่นๆ ไม่เกิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โดยตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนใหม่ได้เสนอให้ส่วนท้องถิ่นสามารถอนุมัติออก license ได้ โดยมีเงื่อนไข คือ เป็นโครงการที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อของการลงทุนที่มีเงื่อนไข (Conditional Investment) และมีเงินลงทุนน้อยกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนในกรณีที่เป็นโครงการที่มีเงื่อนไขการลงทุนและมีเงินลงทุนมากกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต้องให้ MPI (Ministry of Planning and Investment) เป็นผู้อนุมัติ


3.6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการลงทุน

หน่วยงานภาครัฐ

> Department of Planning and Investment (DPI)

32 Le Thanh Ton, Dist.1, HoChiMinh City

Tel: + 848 8293 179

Fax: + 848 8295 008

Website: www.dpi.hochiminhcity.gov.vn

> สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองฮานอย

Thai Trade Center Hanoi

Office of Commercial Affairs, Royal Thai Embassy

No.801, 8th Floor, Hanoi Central Office Building, 44B Ly Thuong Kiet Street, Hanoi

Tel: (844) 39 365 226-7 Fax : (854) 39 365 228

E-Mail: thaichanoi@depthai.go.th

หน่วยงานภาคเอกชน

> The Thai Business (Vietnam) Association: TBA) Ho Chi MIn

173 Truong Dinh,Ward 9, District 3, Ho Chi Minh City

Tel: (848) 39 318 263 Fax : (848) 39 318 263

E-Mail: thaiassociation@vnn.vn

Website: www.tbavietnam.org


3.7. สถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศ

จากสถิติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988-8/2014 เวียดนามมีการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง (Foreign Direct Investment: FDI) จำนวน 16,910 โครงการ รวมเป็นเงิน 243.03 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และและในช่วงไตรมาสที่สามของปี ค.ศ. 2014 มีการลงทุนจำนวน 992 โครงการ รวม 10.23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุดในปี ค.ศ. 2014 คือ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน ตามลำดับ

อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาตินิยมลงทุนในเวียดนามมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริการด้านที่พักและอาหาร การก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิตและจ่ายไฟฟ้า ก๊าซ น้ำ และระบบปรับอากาศ ตามลำดับ


3.8. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล

1) ประเทศเวียดนามพยายามสร้างบรรยากาศให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในด้านโทรคมนาคม ปิโตรเลียม และเหมืองแร่ แต่ปัญหาสำคัญคือ กฎระเบียบด้านการลงทุนจากต่างชาติที่ยังไม่เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้าร่วมมากนัก ยังกีดกันต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการบางอย่าง

2) ระเบียบกฎเกณฑ์การลงทุนในประเทศเวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง ผู้ลงทุนควรตรวจสอบระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆ กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ที่ลงทุนก่อน

3) ประเทศเวียดนามมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยทำงาน ในช่วงอายุ 15-24 และ 25-49 ปี ลดลงมาต่อเนื่อง


รูปที่ 3.4 (ที่มา : www.intovietnam.net)

     กฏระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศ

  1. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
  2. กฏหมายลงทุน
  3. สิทธิประโยชน์การลงทุน
  4. รูปแบบการลงทุนจากต่างประเทศ
  5. ขั้นตอนเข้าไปลงทุน
  6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. สถานการณ์การลงทุน
  8. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล


ประเทศเวียดนาม

Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา