ข้อมูลทั่วไป

1.1. ข้อมูลพื้นฐาน

    ประเทศลาว มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : สปป.ลาว (The Lao People’s Democratic Republic: Lao PDR) มีพื้นที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร โดยที่ลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 พื้นที่ คือ เขตภูเขาสูง เขตที่ราบสูง และเขตที่ราบลุ่ม โดยพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงของประเทศรวมกันจะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ ภูมิอากาศเป็นแบบภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือและเขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์ 25 องศาเซลเซียส (ม.ค.) และ 36-37 องศาเซลเซียส (เม.ย.) ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,715 มิลลิเมตรต่อปี

แผนที่ภูมิประเทศแสดงตำแหน่งที่ตั้งของที่ตั้งของสปป.ลาว
(ที่มา : The University of Texas at Austin, 2016)


    ประเทศลาว มีการปกครองในแบบระบอบสังคมนิยม มีพรรคปฏิวัติประชาชนลาว (The Lao People’s Revolutionary Party : LPRP) เป็นพรรคการเมืองที่บริหารประเทศเพียงพรรคเดียวมาโดยตลอด และคาดว่าจะยังคงรักษาอำนาจทางการเมืองใน สปป.ลาว ได้ต่อไป
    แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง และ 1 เขตปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์) แขวงต่างๆ ประกอบด้วย เซกอง อัตตะปือ สาละวัน จำปาสัก สะหวันนะเขต คำม่วน บอลิคำไซ เวียงจันทน์ ไชยะบุลี หลวงพระบาง เชียงขวาง หัวพัน พงสาลี อุดมไช หลวงน้ำทา และบ่อแก้ว มีประชากรรวมทั้งหมด 6.9 ล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 12.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.5 (ข้อมูล ณ ปี 2558)

 


(ที่มา : www.unicef.org)    
(ที่มา : www.insightguides.com)

1.2. การเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศ

ประเทศลาวได้เข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร ทั้งองค์กรระดับภูมิภาคและระดับโลก ดังนี้

ปี พ.ศ.

รายชื่อองค์กรที่เข้าร่วม

2495

องค์การสหประชาชาติ

2504

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

2507

กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

2535

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)

2540

สมาชิกอาเซียน

2541

สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) แต่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม

2546

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS)

 

1.3. ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

     ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 สมาชิกเริ่มแรกมี 5 ประเทศ และต่อมาประเทศบรูไนฯ ได้เข้าร่วมเป็นประเทศที่ 6 ในปี พ.ศ. 2527 เรียกเป็นประเทศสมาชิกเดิม ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และบรูไน
     ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 10 ประเทศ อีก 4 ประเทศที่เพิ่มคือกลุ่มประเทศที่เรียกว่า CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนามตามลำดับ

(ที่มา : AsiaPacific Daily website, 2014)


1.4. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

ความตกลง ACIA มีขอบเขตครอบคลุมมิติการลงทุนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การเปิดเสรี (Liberalization) การคุ้มครอง (Protection) การส่งเสริม (Promotion) และการอำนวยความสะดวก (Facilitation) โดยมีวัตถุประสงค์หลักของ คือ ต้องการสร้างให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้เป็นภูมิภาคมีทีกฎระเบียบด้านการลงทุน (Investment Regime) ที่เปิดกว้างและเสรี (Open & Free) และในขณะเดียวกันเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการ (Integration) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านการลงทุน โดยสรุปความครอบคลุมในความตกลงได้ดังนี้

การเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ ACIA ครอบคลุม

สิ่งที่ความตกลง ACIA ไม่ครอบคลุม

ประเภทของการลงทุน

  • – การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)
  • – การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือการถือหุ้นน้อยกว่า 10 % (Portfolio)

สาขาการลงทุน 5 กลุ่ม ได้แก่

  • – อุตสาหกรรมการผลิต, เกษตร,ประมง, ป่าไม้, เหมืองแร่ และ บริการที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 5 ภาคข้างต้น

1. มาตรการทางภาษี ยกเว้นมาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับบทการโอนเงินและการเวนคืน
2. การอุดหนุนโดยรัฐ (Subsidies)
3. การจัดซื้อจัดจ้าง
4. การบริการโดยรัฐ
5. การเปิดเสรีกิจการบริการเนื่องจากมาตรการทางภาษี การอุดหนุน การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริการโดยรัฐ

 

 

1.5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้า

     ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับต้นๆ ของ สปป.ลาว โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปลาวที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล/เบนซิน รถยนต์และอุปกรณ์ เหล็กและเหล็กกล้า และเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้าจากลาวที่สำคัญ ได้แก่ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ เครื่องรับ-ส่งสัญญาณและอุปกรณ์ติดตั้ง (โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์) ส่วนสินค้าอื่นๆ มูลค่านำเข้าไม่มาก ได้แก่ ไม้แปรรูป ผักและผลไม้ เป็นต้น ในปี พ.ศ.2558 มูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างไทยกับลาว โดยรวมมีมูลค่า 193,200.3 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการส่งออก จำนวน 142,909.3 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้า 50,291.3 ล้านบาท (กรมการค้าต่างประเทศ, 2558)

 

(ที่มา : www.เที่ยวเชียงใหม่.com, 2557)

ความสัมพันธ์ทางด้านการทูต

     ประเทศไทยและลาวได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 หรือเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี สายสัมพันธ์ไทย-ลาว ฉัน “ญาติใกล้ชิด มิตรใกล้บ้าน” ได้ปรากฏอยู่ในชีวิตของผู้คนและชุมชนสองฝั่งโขงมายาวนานตั้งแต่ยังไม่มีเส้นเขตแดนแบ่งสังคมออกเป็นประเทศเช่นทุกวันนี้

 

 

(ที่มา : www.manager.co.th, 2557)

 

1.6. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล


     1) สปป.ลาว เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทย มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบก และทางน้ำ แม้ว่า สปป.ลาวจะไม่มีทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อด้านการคมนาคมขนส่งจากไทยไปประเทศที่สามในอนุภูมิภาคผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวได้
     2) มีศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ทั้งทรัพยากรน้ำ แร่ธาตุ ป่าไม้ ทำให้เกิดการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน ที่มีการลงทุนมากเป็นอันดับหนึ่ง
     3) ตลอดแนวชายแดนของ สปป.ลาว ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ซึ่งจะทำให้กลายเป็น Land link มีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบผ่านเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ (Economic corridor)
     4) สปป.ลาว มีนโยบายด้านพลังงานของการเป็น Battery of Asia ซึ่งลาวสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าและส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นำรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างมากมายและยั่งยืน (Sustainable)
     5) ระบบการขนส่งภายในประเทศ ใช้เส้นทางถนนเป็นหลัก เนื่องจากยังไม่มีระบบขนส่งทางราง และเป็นลักษณะผูกขาด เส้นทางคมนาคมยังทุรกันดาร ต้องใช้เวลานาน เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า

(ที่มา : www.เที่ยวเชียงใหม่.com, 2557)

     ข้อมูลทั่วไป

  1. ข้อมูลพื้นฐาน
  2. การเข้าร่วมองค์กรต่างประเทศ
  3. ก้าวสู่สมาคมอาเซียน
  4. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน(ACIA)
  5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย
  6. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล


ประเทศลาว

Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา