4.1 การจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท รูปแบบองค์กรทางธุรกิจใน สปป.ลาว แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ (1) วิสาหกิจส่วนบุคคล (2) วิสาหกิจหุ้นส่วน หรือ ห้างหุ้นส่วน และ (3) บริษัท
4.2. การนำเข้าและส่งออกกรมการนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้กำหนดกฎระเบียบและมาตรการด้านการนำเข้า-ส่งออกสินค้าของ สปป.ลาว ตามประกาศของกระทรวงการค้า เลขที่ 2151/อค. กขอ. ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เกี่ยวกับสินค้าควบคุมที่ต้องขออนุญาตนำเข้า และส่งออกแบบไม่อัตโนมัติของ สปป.ลาว ดังนี้
สินค้าที่ห้ามนำเข้าและส่งออก
สินค้าที่ห้ามนำเข้า 6 รายการ ประกอบด้วย อาวุธและพาหนะเพื่อสงครามทุกชนิด ฝิ่นและส่วนประกอบ เครื่องมือหาปลาแบบดับศูนย์ เครื่องจักรดีเซลใช้แล้ว ตู้เย็น/ตู้แช่ และสินค้ามือสอง เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ตกแต่งภายในบ้าน อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้แล้ว เป็นต้น สินค้าที่ต้องขออนุญาต หรือต้องมีใบแสดงเวลานำเข้าและส่งออก
สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า 18 รายการ ยกตัวอย่างเช่น ข้าวเปลือก/ข้าวกล้อง ซีเมนต์ น้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ วัสดุทำระเบิด เหล็ก เครื่องจักรบางชนิด เป็นต้น
4.3. ภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจ ประกอบด้วย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ภาษีการค้า ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอื่นๆ ดังสรุปในตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 1 อัตราภาษีประเภทต่างๆ ของ สปป.ลาว 4.4. กฏระเบียบทางการเงินสถาบันการเงินในประเทศลาวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่ง สปป.ลาว (Bank of The Lao P.D.R.) ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจทุกรูปแบบของสถาบันการเงินทั้งหมด การออกระเบียบสำหรับ การประกอบกิจการให้ชัดเจนขึ้น ภายใต้กฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ สำหรับการโอนเงินจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติจะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่ง สปป.ลาว (BOL) ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนของชาวต่างชาติ โดยที่นักลงทุนต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้ส่งคืนกำไรกลับประเทศ ตามกฎหมายของประเทศ เช่น เงินภาษีค่าจ้างแรงงาน อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่จะส่งกลับจะถูกจำกัดโดยพิจารณาจากเงินทุนที่นำเข้ามาผ่านระบบธนาคารซึ่งมีการจดบันทึกโดย BOL เท่านั้น (ที่มา : www.activetravellaos.com, 2016) 4.5. การครอบครองที่ดินการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กำหนดว่าที่ดินทั้งหมดใน สปป.ลาว เป็นของชาติลาว โดย นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าที่ดินใน สปป.ลาว ได้เป็นระยะเวลา 30-50-80 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 99 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของการลงทุนและการเจรจากับผู้มีอำนาจของแขวงต่างๆ และสามารถต่ออายุได้ ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีอำนาจ ในการให้สัมปทานที่ดินแก่นักลงทุนขึ้นอยู่กับขนาดที่ดิน ดังตารางต่อไปนี้ สำหรับอัตราค่าเช่า และค่าสัมปทานที่ดินของ สปป.ลาว นั้นจะขึ้นอยู่กับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจสังคมของแต่ละเขต และขึ้นกับนโยบายส่งเสริมของรัฐตามโครงสร้างเศรษฐกิจ ตาราง 2 : รายชื่อหน่วยงานที่มีอำนาจอนุมัติสัมปทานที่ดินให้แก่นักลงทุน จำแนกตามขนาดที่ดิน
4.6. การจ้างแรงงานจากต่างประเทศ การทำสัญญาแรงงานและการยกเลิกสัญญาแรงแรงงานมีรายละเอียดดังนี้
4.7. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลการประกอบธุรกิจ 1) เศรษฐกิจของ สปป.ลาว มีอัตราการเติบโตในระดับสูง ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น |
|