อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากแร่

6.1. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และก่อสร้าง

อุตสาหกรรมก่อสร้างในเมียนมามีอัตราการเติบโตรวม 14.52% ในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009–2013 โดยในปี ค.ศ.2012 เติบโตถึง 9.3% โดยมีมูลค่ารวม 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี ค.ศ. 2012 เมื่อเปรียบเทียบกับ 2.3 พันล้านเหรียญในปี ค.ศ. 2011 และในปี 2014/15 มีอัตราการเติบโต 7.7% ในปี 2015/16 มีอัตราการเติบโต 8.3%

(ที่มา: www.eu-myanmar.org, 2014)

 

       อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้หินปูน และแร่อื่นๆ เช่น ยิปซัม ถ่านหิน ในปี ค.ศ. 2012 ประเทศเมียนมาใช้ปูนซีเมนต์ประมาณ 4 ล้านตัน และคาดว่าภายใน 5 ปีถัดมา อัตราการใช้ปูนซีเมนต์จะเติบโตขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ในแต่ละปีเมียนมานำเข้าซิเมนต์ มากกว่า 100,000 ตัน เพื่อให้เพียงพอกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ท่าเรือ เขตอุตสาหกรรม และอาคาร โดยเฉพาะในย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิดอว์ ซึ่งในปี ค.ศ. 2015 ได้นำเข้าปูนซิเมนต์เพิ่มขึ้นจากปี 2014 ถึง 50%
       ปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนด้านอุตสหกรรมซีเมนต์ในเมียนมาจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น กลุ่ม PT Semen ผู้ผลิตรายใหญ่ในอินโดนีเซีย, บริษัท เอสซีจีซิเมนต์ ประเทศไทย, บริษัท Anhui Conch Cement ประเทศจีน, กลุ่ม YTL Corporation จากมาเลเซีย, บริษัท IHI จากประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

(http://www.stone-crusher-quarry.com/)

6.2. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

       ในปัจจุบันอัญมณีและรัตนชาติส่วนใหญ่ที่ผลิตในเมียนมาไม่ได้เจียรนัยเพิ่มมูลค่าในประเทศ แต่ส่งออกเป็นวัตถุดิบไปทำเป็นเครื่องประดับในกลุ่มประเทศเอเชียเป็นหลัก ในปัจจุบันการทำเหมืองหยกมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น มูลค่าการส่งออกหยกได้เพิ่มจาก 50–300 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ในช่วงประมาณต้นทศวรรษที่ 21 มาเป็น 780 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีงบประมาณ 2010-2011เมียนมาสามารถผลิตหยกได้ 46,810 ตัน ผลิตรัตนชาติรวม 12.962 ล้านกะรัต


(ที่มา: www.internasional.metrotvnews.com)

       การจำหน่ายและส่งออกอัญมณีในเมียนมาสามารถดำเนินการได้โดยการประมูลปีละสองครั้งที่ Gem emporiums ซึ่งเป็นตลาดและศูนย์ค้าอัญมณีของรัฐ ผู้ค้าจะต้องได้รับใบอนุญาตจาก Myanmar Gems Enterprise

       ปัจจุบันรัฐบาลเมียนมาได้เปิด Gem Museum ในกรุงย่างกุ้งซึ่งเป็นตลาดซื้อขายรัตนชาติที่เจียรนัยแล้วเป็นแห่งแรกของประเทศ พร้อมกับบริการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพด้วยโดยใช้เทคโนโลยีและการสนับสนุนจากประเทศจีน เพื่อสนับสนุนให้มีการเพิ่มมูลค่าในประเทศเป็นเครื่องประดับด้วย


Myanmar Gem Museum and Mart
(ที่มา: www.travelfish.org)

 

 

6.3. อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะพื้นฐาน

      อุตสาหกรรมเหล็กในเมียนมาส่วนหนึ่งดำเนินงานโดยรัฐ ผ่านทาง Myanmar Economic Corporation (MEC) มีโรงถลุงที่มีกำลังผลิตเหล็กพรุน (Sponge iron) 40,000 ตันต่อปี ผลิตเหล็กดิบ (Pig iron) 30,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่าเหล็กแท่ง 30,000 ตันต่อปี ในอนาคตเมียนมากำลังจะสร้างโรงงานผลิตเหล็กกล้าและโรงหล่อเพิ่มขึ้นในเขตอุตสาหกรรมที่เขต Monywa, Mandalay, Taung-gyi และ Bago ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐและภาคเอกชน (Ministry of Industry) ส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ทางการเกษตร

      เมียนมาผลิตโลหะนอกกลุ่มเหล็กที่สำคัญ คือ Cathode copper ตะกั่ว เงิน ดีบุก และเฟอร์โรนิกเกิล แร่ตะกั่วจากเหมืองต่างๆ เช่น เหมืองใต้ดิน Namtu ที่ Bawdwin เหมือง Yadanatheingi และ Bawsaing ในรัฐฉาน จะนำมาป้อนให้โรงถลุง Namtu เพื่อผลิตโลหะตะกั่วและเงิน และมีผลพลอยได้เป็นโลหะทองแดง นิกเกิ้ล และพลวง เหมืองและโรงถลุงเหล่านี้ดำเนินการโดย Mining Enterprise No. 1

      เมียนมามีโรงงานผลิตทองแดง Cathode sheet ที่ทันสมัยที่เหมือง S & K Mine ใกล้เขต Monywa ในมณฑล Sagaing ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท Myanmar Ivanhoe Copper Company Ltd (MICCL) เป็นการร่วมทุน 50:50 ระหว่างรัฐบาล (Mining Enterprise No. 1) กับบริษัท Ivanhoe Holding จากแคนาดา มีกำลังผลิต 40,000 ตันต่อปี สำหรับส่งออก ส่วนโรงถลุงแร่ดีบุกนั้นมีโรงงานของบริษัท Wa Mining ใกล้ชายแดนยูนนานประเทศจีน ซึ่งในปัจจุบันรัฐวิสาหกิจเหมืองแร่หมายเลข 2 กำลังเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนเพื่อสร้างโรงถลุงแร่ดีบุกเพิ่มขึ้นตามนโยบายเพิ่มมูลค่าแร่ก่อนส่งออก


(ที่มา: Nathan Briant, 2015)

     อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากแร่

  1. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และก่อสร้าง
  2. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
  3. อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะพื้นฐาน

ประเทศเมียนมาร์

Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา