ข้อมูลทั่วไป

1.1. ข้อมูลพื้นฐาน

ประเทศกัมพูชา มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีทิวเขาล้อมรอบ ได้แก่ เทือกเขาพนมดงรัก, เทือกเขาบรรทัด และเทือกเขาอันนัม ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น แบ่งเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน (พฤษภาคม-พฤศจิกายน) และฤดูแล้ง (ธันวาคม–เมษายน) อุณหภูมิเฉลี่ย 20–36 องศาเซลเซียส โดยเดือนเมษายน มีอุณหภูมิสูงสุดที่สุด และเดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด

แผนที่ภูมิประเทศแสดงตำแหน่งที่ตั้งของที่ตั้งของประเทศกัมพูชา
(ที่มา : The University of Texas at Austin, 2016)


      ประเทศกัมพูชา มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมีนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่ง หัวหน้าคณะรัฐบาล (วาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี)
แบ่งเขตการปกครองเป็น 23 จังหวัด กรุง 26 แห่ง อำเภอ 159 แห่ง ขัณฑ์ (หรือเขต) 8 แห่ง ตำบล 1,417 ตำบล และแขวง 204 แขวง เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) มีมีประชากรประมาณ 16 ล้านคน (ข้อมูล ณ ปี 2558) อัตราการเพิ่มของประชากรเท่ากับ 1.58% ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 17.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7 (ข้อมูล ณ ปี 2558)

 

(ที่มา : www.asiafoundation.org, 2016)

1.2. การเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศ

      กัมพูชาได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนและยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 แต่เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในกัมพูชาอย่างรุนแรง จึงทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องทบทวนปัญหาดังกล่าว และเลื่อนการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกออกไป จนท้ายที่สุดประเทศกัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 โดยมีปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นแรงกระตุ้นสำคัญ

      หลังจากที่กัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน และสมาชิกของ WTO ส่งผลให้มูลค่าการค้ารวมของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลกัมพูชาได้เริ่มกระบวนการอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน เพื่อลดต้นทุนการประกอบการให้สามารถแข่งขันได้ นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงมาตรฐานการจ้างงานให้เป็นสากลมากขึ้นโดยอนุญาตให้องค์กรด้านแรงงานนานาชาติ เข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบกระบวนการจ้างงานและการใช้แรงงาน

(ที่มา : www.media.zenfs.com)

1.3. ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

      ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 สมาชิกเริ่มแรกมี 5 ประเทศ และต่อมาประเทศบรูไนฯ ได้เข้าร่วมเป็นประเทศที่ 6 ในปี พ.ศ. 2527 เรียกเป็นประเทศสมาชิกเดิม ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และบรูไน
ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 10 ประเทศ อีก 4 ประเทศที่เพิ่มคือกลุ่มประเทศที่เรียกว่า CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนามตามลำดับ

 

(ที่มา : www.asean-law.senate.go.th)

1.4. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

      ความตกลง ACIA มีขอบเขตครอบคลุมมิติการลงทุนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การเปิดเสรี (Liberalization) การคุ้มครอง (Protection) การส่งเสริม (Promotion) และการอำนวยความสะดวก (Facilitation) โดยมีวัตถุประสงค์หลักของ คือ ต้องการสร้างให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้เป็นภูมิภาคมีทีกฎระเบียบด้านการลงทุน (Investment Regime) ที่เปิดกว้างและเสรี (Open & Free) และในขณะเดียวกันเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการ (Integration) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านการลงทุน โดยสรุปความครอบคลุมในความตกลงได้ดังนี้

1.5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้า

      ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในกัมพูชา แต่เนื่องจากระบบการบริหารจัดการภายในของกัมพูชายังขาดมาตรฐานและไม่เป็นสากล จึงทำให้การค้าและการลงทุนของไทยในกัมพูชามีต้นทุนสูงและเติบโตช้า ทั้งนี้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและตกลงที่จะร่วมมือกันเร่งรัดการแก้ปัญหาและลดอุปสรรคด้านการค้าการลงทุนระหว่างกันให้ปรากฏผลที่เป็นรูปธรรมต่อไป
มูลค่าการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา ในปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่าโดยรวม 188,641.5 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 167,048.3 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้า 21,593.3 ล้านบาท ซึ่งสินค้าส่งออกที่ไทยส่งไปยังกัมพูชาที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำตาลทราย อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากกัมพูชาที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูป ลวดและสายเคเบิล สินแร่โลหะและผลิตภัณฑ์

ความสัมพันธ์ทางด้านการทูต

      ประเทศไทยและกัมพูชามีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2493 โดยมีเอกอัครราชทูตไทยไปประจำอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ และทางกัมพูชาก็มีสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยเช่นเดียวกัน

 (ที่มา : www.mfa.go.th, 2557)

1.6. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล

            1) ประเทศกัมพูชามีเสถียรภาพทางการเมือง มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เติบโต จะช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัว การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศยังมีน้อย จึงช่วยดึงดูดการลงทุนในหลายด้าน
            2) ขาดโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนทางหลวงที่ได้มาตรฐาน แหล่งพลังงานไฟฟ้า ที่จะดึงดูดการลงทุน แต่รัฐบาลกำลังเร่งปรับปรุง ประเทศกัมพูชาจะต้องลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเป็นจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาก่อน คือ โรงไฟฟ้า ถนน เส้นทางรถไฟ และท่าเรือ ประกอบด้วยการปรับปรุงเส้นทาง AH1 จากชายแดนประเทศไทย ขยายการขนส่งสินค้าตามลำน้ำโขงไปยังประเทศเวียดนาม การขยายเส้นทางรถไฟจากท่าเรือสีหนุวิลล์มายังเมืองหลวงเพื่อช่วยลดค่าขนส่ง
            3) การสร้างโรงกลั่นน้ำมันจะช่วยพัฒนาความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจของประเทศ จะช่วยลดการพึ่งพานำเข้าน้ำมัน ถ้ามีการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งสัมปทานในประเทศในอนาคตอันใกล้
            4) การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC) จะช่วยขยายการค้าและการลงทุนในภูมิภาค
            5) มีแรงงานราคาถูก และประชากรวัยทำงานมีจำนวนมาก สหภาพแรงงานไม่เข้มแข็ง
            6) พื้นที่ห่างไกลอาจจะยังคงมีทุ่นระเบิดจากสงครามตกค้างอยู่ การใช้พื้นที่ดินจะต้องมีการสำรวจและกู้ทุ่นระเบิดเพื่อความปลอดภัย

 
(ที่มา : www.cbstravelasia.com, 2015)

     ข้อมูลทั่วไป

  1. ข้อมูลพื้นฐาน
  2. การเข้าร่วมองค์กรต่างประเทศ
  3. ก้าวสู่สมาคมอาเซียน
  4. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน(ACIA)
  5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย
  6. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล


ประเทศกัมพูชา
Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา