1.1. ข้อมูลพื้นฐาน

     ประเทศเมียนมา หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (The Republic of the Union of Myanmar) มีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของประเทศเป็นพื้นที่สูงชันมีภูเขาล้อมรอบ และมีที่ราบอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ภูมิอากาศเป็นแบบลมมรสุมเขตร้อน ทางตอนกลางและตอนเหนือมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ จะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่า

แผนที่ภูมิประเทศแสดงตำแหน่งที่ตั้งของประเทศเมียนมา
(ภาพต้นฉบับ : http://www.lib.utexas.edu/maps/middle_east_and_asia/burma_rel_96.jpg)


      เมียนมาร์แบ่งการปกครองออกเป็น 7 รัฐ และ 7 มณฑล โดยแต่ละรัฐเป็นเขตของชนกลุ่มน้อย ประกอบด้วย รัฐกะฉิ่น (Kachin state) รัฐกะยา (Kayah state) รัฐกะเหรี่ยง (Kayin state) รัฐฉาน (Shan state) รัฐชิน (Chin state) รัฐมอญ (Mon state) และรัฐยะไข่ (Rakhine state) ในส่วนของเขตมณฑลเป็นเขตของชนเชื้อสายเมียนมา ประกอบด้วย มณฑลตะนาวศรี (Tanintharyi) หงสาวดี (Bago) มัณฑะเลย์ (Mandalay) มาเกว (Magway) ย่างกุ้ง (Yangon) สะกาย (Sagaing) และอิรวดี (Ayeyarwady) ระบบการปกครอง แต่เดิมปกครอง โดยคณะ ทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council: SPDC) โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุขประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองที่เป็น ประชาธิปไตยมากขึ้น โดยมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป มีประชากรทั้งหมด 56 ล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 65.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 8.5 (ข้อมูล ณ ปี 2558)

 

 

1.2. การเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศ

      เมียนมาร์เป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจตามหลังประเทศอื่นๆ เนื่องมาจากเมียนมาดำเนินนโยบายค่อนข้างปิดประเทศอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2531 เกิดการปฏิวัติของกลุ่ม SLORC ที่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งและทำการยึดอำนาจการปกครอง จนทำให้กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมา


ลำดับเหตุการณ์การถูกต่างชาติคว่ำบาตรของเมียนมา
(ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ, 2557)

      ส่วนในกลุ่มอาเซียนได้พยายามผลักดันให้เมียนมาเข้ามามีส่วนร่วมในอาเซียนและสนับสนุนให้ประเทศตะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรต่อ เมียนมาภายหลัง ปี พ.ศ. 2554 ซึ่งมีการประกาศผลการเลือกตั้งซ่อม โดยพรรคฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งถล่มทลาย ดังนั้นหลายประเทศจึงได ้ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรลง รวมถึงสหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนพัฒนาการด้านประชาธิปไตย จากนั้นเมียนมาได้เร่งปฏิรูปประเทศ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการเงินโดยมีการผ่อนคลายการลงทุนและการเงิน เพื่อต้องการให้สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยกเลิก การคว่ำบาตรโดยถาวร

 

1.3. ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 สมาชิกเริ่มแรกมี 5 ประเทศ และต่อมาประเทศบรูไนฯ ได้เข้าร่วมเป็นประเทศที่ 6 ในปี พ.ศ. 2527 เรียกเป็นประเทศสมาชิกเดิม ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และบรูไน ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 10 ประเทศ อีก 4 ประเทศที่เพิ่มคือกลุ่มประเทศที่เรียกว่า CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนามตามลำดับ


1.4. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

      ความตกลง ACIA มีขอบเขตครอบคลุมมิติการลงทุนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การเปิดเสรี (Liberalization) การคุ้มครอง (Protection) การส่งเสริม (Promotion) และการอำนวยความสะดวก (Facilitation) โดยมีวัตถุประสงค์หลักของ คือ ต้องการสร้างให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้เป็นภูมิภาคมีทีกฎระเบียบด้านการลงทุน (Investment Regime) ที่เปิดกว้างและเสรี (Open & Free) และในขณะเดียวกันเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการ (Integration) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านการลงทุน โดยสรุปความครอบคลุมในความตกลงได้ดังนี้

การเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ ACIA ครอบคลุม

สิ่งที่ความตกลง ACIA ไม่ครอบคลุม

ประเภทของการลงทุน

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)

การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือการถือหุ้นน้อยกว่า 10 % (Portfolio)

สาขาการลงทุน 5 กลุ่ม ได้แก่

อุตสาหกรรมการผลิต, เกษตร,ประมง, ป่าไม้, เหมืองแร่ และ บริการที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 5 ภาคข้างต้น

1. มาตรการทางภาษี ยกเว้นมาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับบทการโอนเงินและการเวนคืน
2. การอุดหนุนโดยรัฐ (Subsidies)
3. การจัดซื้อจัดจ้าง
4. การบริการโดยรัฐ
5. การเปิดเสรีกิจการบริการเนื่องจากมาตรการทางภาษี การอุดหนุน การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริการโดยรัฐ

 

1.5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้า

      ประเทศไทยและเมียนมาต่างได้ติดต่อและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศเมียนมาส่งออกมายังประเทศไทยมากที่สุด ประกอบกับมีการค้าชายแดนตามแนวชายแดนของจังหวัดต่างๆ และมีนักลงทุนจากประเทศไทยเข้าไปลงทุนยังประเทศเมียนมาจำนวนมาก แสดงถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แนบแน่น รวมถึงลู่ทางในการลงทุนยังประเทศเมียนมาเนื่องจากเมียนมาเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย รวมถึงแรงงานที่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำเมื่อเทียบกับค่าแรงในประเทศ
ด้านการค้าชายแดน เนื่องจากไทยมีแนวชายแดนติดต่อกันกับเมียนมาเป็นระยะทางยาวประมาณ 1,800 กิโลเมตร การค้าหรือการทำธุรกรรมทางการค้าบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศมีรูปแบบการค้าตั้งแต่การค้าที่มีมูลค่าไม่สูงมาก เช่น การซื้อขายสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดน จนไปถึงการค้าที่มีมูลค่าสูงระหว่างหน่วยงานรัฐของทั้งสองประเทศ

ความสัมพันธ์ทางด้านการทูต

      ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเมียนมาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2491 และมีการเปิดสถานเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2492 ไทยและเมียนมา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน โดยมีความสัมพันธ์กว้างขวางในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ
ใน ปี พ.ศ. 2556 เป็นวาระครบรอบ 65 ปีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาจึงได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองงานครบรอบดังกล่าว ซึ่งมีการจัดการแสดง เพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมทั้งสองประเทศขึ้นด้วย

1.6. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล

      ในภาพรวมของประเทศเมียนมาซึ่งมีเขตปกครองแบ่งเป็นหลายรัฐและมณฑล และกำลังอยู่ในช่วงปฏิรูประบบการปกครอง ระบบกฎหมาย และระบบเศรษฐกิจ ซึ่งบางพื้นที่ในเขตปกครองของรัฐท้องถิ่นหรือชนกลุ่มน้อยก็ยังคงมีปัญหาความขัดแย้งกับรัฐบาลกลางอยู่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหากับผู้ลงทุนได้จึงควรศึกษาข้อมูลและสถานการณ์ประกอบด้วย รวมไปถึงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยประเทศเมียนมาจะต้องลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาก่อน คือ โรงไฟฟ้า ถนน เส้นทางรถไฟ ท่าเรือ และระบบสื่อสาร ตามลำดับ

     ข้อมูลทั่วไป

  1. ข้อมูลพื้นฐาน
  2. การเข้าร่วมองค์กรต่างประเทศ
  3. ก้าวสู่สมาคมอาเซียน
  4. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน(ACIA)
  5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย
  6. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล


ประเทศเมียนมาร์


Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา