กฏระเบียบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5.1. นโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรแร่และการทำเหมืองแร่

     กัมพูชาโดย Department of Mineral Resources, Ministry of Industry, Mines and Energy, (MIME) ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น Ministry of Mines and Energy (MME) ได้กำหนดนโยบายด้านแร่ใหม่ ในปี ค.ศ. 2014 โดยมีเป้าหมายและกลยุทธ์ดังนี้

นโยบายในปัจจุบันของ Ministry of Mines and Energy ในช่วงปี ค.ศ. 2014-2015 จะเน้นที่การเพิ่มรายได้ของรัฐจากอุตสาหกรรมแร่

5.2. กฎหมายแร่

     กฎหมายแร่ (Law on Management and Exploitation of Mineral Resources) มีการประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวง MME กำลังปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและค่าภาคหลวงแร่ รวมทั้งกฎระเบียบเกี่ยวกับเงื่อนไขในการจดทะเบียน การออกใบอนุญาตสำรวจแร่และทำเหมืองแร่ การต่ออายุ และอื่นๆ โดยคาดว่าจะปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายในปลายปี ค.ศ. 2015

     ในปัจจุบันมีปัญหาจากการห้ามส่งออกแร่ดิบทุกชนิด แต่รัฐบาลกัมพูชารับทราบปัญหาว่าแร่บางอย่างไม่สามารถแต่งแร่เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ในประเทศ เช่น แร่บ๊อกไซต์ และแร่ทองแดง จึงอาจจะมีการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับเพื่อนิยามชนิดแร่และวิธีการแต่งแร่ที่สามารถทำได้ในประเทศและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ

(ที่มา : www.thailandindustry.com, 2554)

5.3. รูปแบบของการลงทุนทำเหมืองแร่ในประเทศกัมพูชา

     กฎหมายลงทุนของกัมพูชายินยอมให้ผู้ลงทุนจากต่างชาติลงทุนทำเหมืองแร่ได้ 100% และรับประกันว่าทรัพย์สินของต่างชาติ ที่นำมาลงทุนจะไม่ถูกยึดเป็นของรัฐ และจะไม่ควบคุมราคาสินค้าที่ผลิตโดยโครงการที่ส่งเสริมการลงทุน

(ที่มา : www.board.postjung.com, 2559)

5.4. ขั้นตอนและเงื่อนไขการขออนุญาตด้านแร่

     การเสนอโครงการลงทุนด้านแร่ทั้งการสำรวจและทำเหมืองแร่ จะต้องดำเนินการผ่าน CDC ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้อนุมัติเป็น Qualified Investment Project (QIP) ก่อน เพราะนอกจากจะได้สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมลงทุนแล้ว ทาง CDC จะทำหน้าที่เป็น One Stop Service ที่ประสานงานระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต และกระทรวง MME จะอนุมัติใบอนุญาตสำรวจแร่และทำเหมืองแร่ให้กับโครงการ QIP ที่ CDC เห็นชอบแล้วเท่านั้น

ขั้นตอนการขออนุญาตสำรวจและทำเหมืองแร่
(ที่มา: กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2556 รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่)

5.5. ภาษีและค่าธรรมเนียมด้านแร่

     ภาษีและค่าธรรมเนียมภายใต้กฎหมายเหมืองแร่ ตามประกาศร่วมระหว่าง MME และ Ministry of Economy and Finance ประกอบด้วย

ตารางที่ 1 ค่าธรรมเนียมกิจกรรมด้านแร่

     นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ์ใบอนุญาตสำรวจแร่ 5,000 เหรียญสหรัฐ ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ์ใบอนุญาตทำเหมืองแร่ 6,000 เหรียญสหรัฐ

ตารางที่ 2 ค่าภาคหลวงแร่

5.6. การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน

     ในขั้นตอนการขอใบอนุญาตทำเหมืองแร่ทุกประเภท จำเป็นต้องมีรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ที่ผ่านความเห็นชอบของ Ministry of Environment แนบไปด้วยทุกครั้ง โดยขั้นตอนการจัดทำรายงาน จะอยู่ในประกาศของกระทรวง

(ที่มา: www.wayneimage.com,2014)

5.7. หน่วยงานด้านแร่ 

หน่วยงานภาครัฐ
  • กระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน (Ministry of Mining and Energy, MME)

Ministry of Mines and Energy
#79-89, Pasteur Street(51), Sangkat Phsar Thmey3,
Khan Daun Penh, Phnom Penh, Cambodia
Tel : 855 23 219 574
Fax : 855 23 219 584
Email : info@mme.gov.kh
Website: http://www.mme.gov.kh/

  • กรมทรัพยากรแร่ (General Department of Mineral Resources: GDMR)

General Department of Mineral Resources, Ministry of Mines and Energy
Ministry of Mines and Energy, Phnom Penh, Cambodia
Tel : 855 23 210 811
Fax : 855 23 362 989

 

หน่วยงานภาคเอกชน
  • The Cambodian Association for Mining and Exploration Companies (CAMEC)

The Cambodian Association for Mining and Exploration Companies (CAMEC)
24, Street 462, Phnom Penh, Cambodia
Tel : 855 (0) 23 210 225
Fax : 855 (0) 23 210 225
Email : info@camec-cambodia.com
Website: http://www.camec-cambodia.com/

 

5.8. สถานการณ์อุตสาหกรรมแร่

     ปัจจุบันมีนักลงทุนด้านแร่ทั้งในและต่างประเทศจำนวน 91 บริษัท (จากออสเตรเลีย จีน เวียดนาม ไทย และบริษัทท้องถิ่น) ได้รับใบอนุญาตสำรวจแร่จากจำนวนที่ยื่นขอ 139 โครงการ ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 13 บริษัทจาก 91 บริษัท (จีน 5 ไทย 3 ท้องถิ่น 5) ที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำเหมืองในประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น ทองคำ 4 แหล่ง เหล็ก 1 แหล่ง ถ่านหิน 2 แหล่ง หินปูน 5 แหล่ง และบ๊อกไซต์ 1 แหล่ง

     ผลผลิตแร่ของกัมพูชาในปี ค.ศ. 2013 สามารถผลิตแร่หลายชนิดที่มีความสำคัญ ได้แก่ ทรายแก้ว แร่เกลือ หินปูนสำหรับอุตสาหกรรมซีเมนต์ แร่สำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่น กรวด ทราย หินโม่ ดินลูกรัง

แผนที่แสดงพื้นที่กิจกรรมด้านสำรวจและทำเหมืองแร่ในประเทศกัมพูชา
(ที่มา : Global Witness, 2009, “How Cambodia’s elite has captured the country’s extractive industries”)

5.9. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านแร่่

     1) เนื่องจากในปัจจุบันราคาแร่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงตกต่ำเนื่องจากเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว บริษัทเหมืองแร่หลายแห่งจึงไม่ลงทุนในโครงการสำรวจแหล่งแร่ใหม่ (Greenfield projects) เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จึงมีการปรับกลยุทธ์ลงทุนในแหล่งที่เคยผ่านการสำรวจมาแล้วหรือมีข้อมูลแหล่งแร่ (Brownfield projects)
     2) เนื่องจากนโยบายที่ยังไม่ชัดเจนและการขาดความโปร่งใสในการให้ใบอนุญาตด้านแร่ ทำให้กัมพูชามีการพัฒนาโครงการ ด้านเหมืองแร่และปิโตรเลียมค่อนข้างช้า
     3) กฎหมายแร่ (Law on Management and Exploitation of Mineral Resources) ยังมีข้อความคลุมเครือ ไม่ชัดเจนในทางปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนการออกใบอนุญาต ทำให้โครงการทำเหมืองต้องล่าช้า ในปัจจุบันยังไม่มีโครงการ เหมืองแร่ใหม่ๆ เกิดขึ้น

(ที่มา : www.new.abb.com,2016)

     กฏระเบียบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. นโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรแร่และการทำเหมืองแร่
  2. กฎหมายแร่
  3. รูปแบบของการลงทุนทำเหมืองแร่ในประเทศลาว
  4. ขั้นตอนและเงื่อนไขการขออนุญาตด้านแร่
  5. ภาษีและค่าธรรมเนียมด้านแร่
  6. การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน
  7. หน่วยงานด้านแร่
  8. สถานการณ์อุตสาหกรรมแร่
  9. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านแร่


ประเทศกัมพูชา

Download PDF


ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา