About

                 ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ มาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล และคงความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศมาทุกยุคทุกสมัย การบริหารจัดการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยกรุงสุโขทัย มีการขุดแร่อย่างเสรี แต่เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้น ประกอบกับมูลค่าทางเศรษฐกิจของแร่ที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทำให้มีการจัดการควบคุมการทำเหมืองแร่ให้รัดกุมมากขึ้น ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรมนาเป็นผู้ดูแลการทำเหมืองแร่และมีการเก็บภาษีอากรแรเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้ปกครองมณฑลหรือจังหวัดมีอำนาจในการอนุญาตการขุดแร่ แต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของการกำหนดเขตเหมืองแร่การขออนุญาตทำเหมืองแร่ การเก็บภาษี ซึ่งยังขาดประสิทธิภาพ และไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงมีพระบรมราชโองการตั้ง “กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา” ขึ้น สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ในวันที่ 1 มกราคม 2434 ทำหน้าที่ดูแลการทำเหมืองแร่ การออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการตรวจหาแร่และทำเหมืองตลอดทั่วราชอาณาจักร

                กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา หรือ “กรมแร่” ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและกระทรวงต้นสังกัดไปแต่ตามแต่ยุคแต่ละสมัย รวมถึง 9 ครั้ง ในจำนวน 5 กระทรวงด้วยกัน คือกระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพระคลังราชสมบัติ กระทรวงเศรษฐการ และกระทรวงเศรษฐกิจ จนกระทั้งปี พ.ศ. 2485 เมื่อมีการจัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรมขึ้น กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยาได้ย้ายมายังกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้ชื่อ “กรมโลหกิจ” ในปี พ.ศ. 2506 ได้ย้ายไปสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ ภายใต้ชื่อ “กรมทรัพยากรธรณี” และในที่สุดได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2516 เมื่อมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ

                ต่อมาภายหลังการปฎิรูประบบราชการ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีการแยกภารกิจหลักของกระทรัพยากรธรณี ได้แก่ด้านธรณีวิทยา ด้านแร่ ด้านพลังงาน และด้านน้ำบาดาล ไปสังกัดอยู่กระทรวงต่างๆ ตามที่มีการแบ่งโครงสร้างส่วนราชการใหม่ โดยงานด้านแร่และโลหกรรม ได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ คือ “กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” สังกัดกระทรวงอุสาหกรรมมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการอุตสาหกรรมแร่และโลหการตามกฏหมายว่าด้วยแร่ กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจัดเก็บรายได้ของรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ โลหการและอุสาหกรรมพื้นฐาน นอกจากนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่รับผิดชอบภารกิจด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรมด้วย รวมตลอดถึงการสนับสนุนและให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานราชการ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป


ปฏิทินกิจกรรม

< 2019 >
September
SMTuWThFS
1234567
89101112
  • All day
    12/09/2019

    99/1 ถนน รัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพ 10320

    99/1 ถนน รัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพ 10320

    กอบบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม

    การสัมมนา เรื่อง การบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรมยุค 4.0

    ขอเรียนเชิญท่านหรือผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “การบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรมยุค 4.0”

    ด้วยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ และรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล กำหนดจัดการสัมมนา เรื่อง การบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรมยุค 4.0 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาทและภารกิจของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ในการบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม ตลอดจนระดมความคิดเห็นต่อการจัดทำแนวทางการบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรมของประเทศ

    วันที่จัดงานสัมมนา : วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562
    เวลา :  09.00-16.30 น.
    สถานที่ : โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ

    การลงทะเบียน
    1. ลงทะเบียนออนไลน์ผ่านทาง Link : ลงทะเบียนสัมมนา หรือ register
    2. Scan QR Code เพื่อเจ้าสู่หน้าลงทะเบียนออนไลน์ 

    Qr Code

    Download :
    1. หนังสือเชิญประชุม 12 ก.ย. 62
    2. กำหนดการประชุม_20190822
    3. แบบตอบรับ

1314
15161718192021
22232425262728
2930     

รับข่าวสารจาก กพร.

ThailandUSA
ปิดโหมดสีเทา