ระบบฐานข้อมูลการค้าการลงทุนด้านแร่ในอาเซียน

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  ข้อมูลด้านแร่และการลงทุน > ทวีปเอเซีย > > ข้อมูลธรณีวิทยาและแหล่งแร่
 

 

2.1. ข้อมูลธรณีวิทยาและแหล่งแร่

ลักษณะธรณีโครงสรางของประเทศเวียดนามและภูมิภาคใกลเคียงมีลักษณะในแตละ Terraines ที่แตกตางกันอันเกิดจากการสรางและการชนกันของแตละ terranes ตาม Orogenic epochs. Precambrian continental blocks ทั้ง 3 ชุด ไดแก Indosinia, Hoang Lien Son และ Hoang Sa Paracel ไดมีการกลายเปนจุลทวีป (microcontinents) และไดกลายเปนสวนขยายอันทําใหเกิดเปน Composite terranes


รูปที่  2.1 ลักษณะธรณีวิทยาและโครงสร้างทางธรณีวิทยาของเวียดนาม
(ที่มา : GDGMV, 1988, Geology and mineral resources of Vietnam)


2.2. แหล่งแร่เป้าหมาย

ทรัพยากรแร่ของเวียดนาม นอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเลแล้ว ยังรวมถึงฟอสเฟต ถ่านหิน บอกไซต์ โลหะมีค่าและกึ่งมีค่า และแร่อุตสาหกรรมอีกหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น

แหล่งแร่เหล็ก (Iron)

พบในหลายพื้นที่ของประเทศโดยมีลักษณะการสะสมตัวและลักษณะของการเกิดแหล่งแร่ ที่แตกต่างกันออกไป แหล่งแร่ที่สำคัญที่สุด คือ แหล่ง Thach Khe


รูปที่  2.2 Thach Khe Iron Mine, Ha Tinh, Vietnam
(ที่มา : www.thanhniennews.com, 2015)


แหล่งแร่ตะกั่ว และสังกะสี

พบกระจัดกระจายทั่วไปทางภาคเหนือของประเทศ แหล่งแร่แบบสการ์นเป็นแหล่งที่สำคัญของประเทศ แหล่งที่มีชื่อเสียง ได้แก่ แหล่ง Cho Don และ Cho Dien ส่วนแหล่งผุพังที่เกิดจากการออกซิเดชั่นของแร่ที่อยู่กับที่ ได้แก่ แหล่ง Phia Khao และ Cho Dien

แหล่งแร่แร่ดีบุก (Tin)

พบแหล่งดีบุกมากกว่า 100 แหล่ง โดยการเกิดของแหล่งดีบุกที่พบมีทั้งที่เป็นหินเพกมาไทต์ (Pegmatite) หินสการ์น (Skarn) แหล่งแร่แบบน้ำร้อน (Hydrothermal) และการสะสมตัวตามชายหาด แหล่งแร่แบบน้ำร้อนมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า จะพบกลุ่มแร่พวก Cassiterite-silicate-sulphide พบในพื้นที่ Tam Dao, Quy Hop, Quang Nam และ LamDong มีปริมาณสำรองทรัพยากรแร่ประมาณ 130,000 ตัน

แหล่งแร่บอกไซต์ (Bauxite)

ประเทศเวียดนามมีปริมาณทรัพยากรแร่บอกไซต์ 10-11 พันล้านเมตริกตัน โดยเฉพาะในจังหวัด Dak Nong และ Lam Dong ในพื้นที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ

พบในหลายพื้นที่ของประเทศโดยมีลักษณะการสะสมตัวและลักษณะของการเกิดแหล่งแร่ ที่แตกต่างกันออกไป แหล่งแร่ที่สำคัญที่สุด คือ แหล่ง Thach Khe


รูปที่  2.3 Tan Rai bauxite Mine, Lam Dong, Vietnam
(ที่มา : www.thanhniennews.com, 2014)


แหล่งแร่อิลมิไนต์ (Ilmenite)

พบแหล่งแร่อิลมิไนต์ประมาณ 66 แหล่งในภาคเหนือและตอนกลางของเวียดนาม โดยพบในหลายพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง มีปริมาณสำรองทรัพยากรแร่มากกว่า 15 ล้านตัน (10-20 กก./ลบ.เมตร) และ เซอร์คอนที่ 1.25 ล้านตัน

แหล่งหินปูน (Limestone)

หินปูนที่พบสามารถแบ่งออกได้เป็น Organic Limestone และ Bio-chemical Limestone โดยที่ Organic Limestone จะประกอบไปด้วยเปลือกหอยและปะการัง มีอายุในยุคควอเทอนารี เกิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเล ส่วนอีกชนิดหนึ่งพบว่ามีการกระจายตัวในบริเวณ Bac Bo, North Trung Bo, และ West Nam Bo


รูปที่  2.4 Limestone Mining : Mong Son JSC., Yen Bai, Vietnam
(ที่มา : www.mongson.vn, 2015)


แหล่งแร่เป้าหมายสำหรับนักลงทุนไทย

แหล่งทรัพยากรแร่เป้าหมายสำหรับการลงทุนจากประเทศไทย เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์และความชำนาญ และความต้องการใช้ในประเทศ หรือเป็นแหล่งที่ต้องการสำหรับอุตสาหกรรมของประเทศ ได้แก่

1) แหล่งตะกั่วสังกะสี ทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโรงถลุงสังกะสีของประเทศไทย อย่างไรก็ตามบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้มีการสั่งซื้อแร่สังกะสีจากแหล่งนี้แล้ว ตลอดจนการร่วมลงทุนการสำรวจแร่กับรัฐวิสาหกิจของเวียดนาม

2) แหล่งถ่านหิน ทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีการนำเข้าถ่านหินในปริมาณมากในแต่ละปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

3) แหล่งแร่ดีบุก สามารถป้อนโรงถลุงในประเทศได้

4) แหล่งอิลมิไนต์ ทางตอนใต้ของประเทศ


รูปที่  2.5 Cua Ong Coal Company, Quang Ninh, Vietnam
(ที่มา : www.talkvietnam.com, 2013)



2.3. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล

1) เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและลักษณะทางธรณีวิทยาที่หลายหลายของประเทศ จึงมีการค้นพบแหล่งแร่กว่า 6,000 แหล่ง จำนวนแร่กว่า 60 ชนิด แหล่งแร่หลักๆ ที่สำคัญจะอยู่ในภาคเหนือและภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะแหล่งแร่โลหะพื้นฐานและแร่อุตสาหกรรม

2) แหล่งทรัพยากรแร่เป้าหมายสำหรับการลงทุนจากประเทศไทย ประกอบด้วย แหล่งตะกั่วสังกะสี และถ่านหิน ทางตอนเหนือของประเทศ แหล่งอิลมิไนต์ ทางตอนใต้ของประเทศ แหล่งแร่ดีบุก และแหล่งแร่ทรายซิลิกาสำหรับอุตสาหกรรม


รูปที่  2.6 Bong Mieu gold mine, Quang Nam, Vietnam
(ที่มา : Dan Tri, 2014)