ระบบฐานข้อมูลการค้าการลงทุนด้านแร่ในอาเซียน

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  ข้อมูลด้านแร่และการลงทุน > ทวีปเอเซีย > สหภาพเมียนมาร์ > กฏระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศ
 

4.1. การจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท

      รูปแบบที่ดีที่สุดของการประกอบธุรกิจในเมียนมา คือ บริษัทจำกัด ซึ่งอาจเป็นบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในเมียนมา หรือเป็นสำนักงานตัวแทนจากต่างประเทศ ซึ่งผู้ลงทุนชาวต่างชาติต้องยื่นแบบฟอร์มและข้อเสนอการลงทุนให้กับ MIC ผ่านทาง DICA เพื่อขอออกใบอนุญาตในการลงทุน และจดทะเบียนบริษัทกับ Company Registration Office

กระบวนการยื่นขอลงทุน

    ภายใต้กฎหมายการลงทุนของต่างชาติ FIL (2012) นั้น กระบวนการยื่นขอลงทุน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

กระบวนการยื่นขอลงทุน

กระบวนการยื่นขอลงทุน
      นักลงทุนสามารถยื่นจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในประเทศเมียนมา ณ Company Registrations Office (CRO), Directorate of Investment and Company Administration (DICA), Ministry of National Planning and Economic Development

ขั้นตอนการจดทะเบียนองค์กรทางธุรกิจ
(ที่มา: DICA)

การแต่งตั้งตัวแทนธุรกิจ
      บริษัทต่างชาติสามารถแต่งตั้งบุคคล หรือผู้ประกอบการเป็นตัวแทนธุรกิจ (Business representatives) ในเมียนมาได้ โดยตัวแทนจะต้องจดทะเบียนกับ Ministry of Commerce ของเมียนมา โดยตัวแทนธุรกิจทุกคนจะต้องตั้งสำนักงานเป็นทางการในเมียนมา และต้องเปิดบัญชีธนาคารในประเทศ สำหรับรายรับที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจตัวแทน และต้องทำบัญชีที่ถูกต้องพร้อมเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบแจ้งหนี้ เป็นต้น

 

4.2. การนำเข้าและส่งออก

      หลังจากก่อตั้งบริษัทแล้ว ถ้าต้องการให้บริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าขายกับต่างชาติ จะต้องจดทะเบียนในฐานะเป็นผู้นำเข้าและส่งออกสินค้ากับ Ministry of Commerce โดยยื่นขอจดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนนำเข้า-ส่งออก (Export-Import Registration Office) สังกัดภายใต้ Directorate of Trade โดยมีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ 1 และ 3 ปี ตามลำดับ จากนั้นต้องขอใบอนุญาตส่งออกหรือนำเข้าตามรายประเภทสินค้าอีกครั้ง บริษัทต่างชาติที่จะยื่นขอจดทะเบียนได้จะต้องเป็นบริษัทที่ก่อตั้งตามกฎหมาย FIL ที่ได้รับอนุมัติจาก MIC เท่านั้น

      ผู้จดทะเบียนแล้วสามารถส่งออกสินค้าทุกชนิด ยกเว้น ไม้สัก น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ไข่มุก หยก อัญมณี แร่ธรรมชาติ และสินค้าอื่นๆ ที่ระบุว่าสามารถดำเนินการได้โดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแต่เพียงผู้เดียว และสามารถนำเข้าสินค้าทุกชนิดตามเงื่อนไขของกฎและระเบียบที่ระบุไว้ ยกเว้นสินค้าที่เป็นสินค้าห้ามนำเข้า

 

(ที่มา : Myanmar Business Today)


4.3. ภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจ

      พลเมืองทั่วไปที่มีรายได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะได้มาจากบริษัทหรือส่วนบุคคล จะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกคน โดยอัตราการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

       พลเมืองทั่วไป จะต้องชำระภาษีรายได้แบบก้าวหน้า ซึ่งเริ่มที่ 3% ไปจนถึง 30%

       ชาวต่างชาติที่ไม่มีถิ่นพำนักในประเทศเมียนมา อาจชำระภาษีในอัตราเดียว คือ 35% หรืออาจชำระเป็นแบบก้าวหน้าโดยเริ่มที่ 3% ถึง 50% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนมากกว่า

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

      ภาษีและอัตราภาษีของการประกอบธุรกิจในเมียนมา เป็นไปตามมาตรฐานสากล ยกตัวอย่างเช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

      นิติบุคคลจะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อัตราคงที่เท่ากับ 25% ยกเว้นโครงการภายใต้ MIC Permit อาจยกเว้นได้ 50% หากเป็นการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก

ภาษีสรรพสามิต

      ภาษีสรรพสามิตสำหรับนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้งานด้านเหมืองแร่ (Mining Machinery and Equipment) จะอยู่ที่ประมาณ 1%


(ที่มา : Dustin Main, 2013)


 

4.4. กฎระเบียบทางการเงิน

      ประเทศเมียนมาได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ในปี พ.ศ. 2555 โดยธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศยกเลิก ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบคงที่ และประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ (Managed Float Exchange Rate) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อให้เป็นไปตาม Foreign Exchange Management Law 2012 (FEML) โดยธนาคารกลาง (The Central Bank of Myanmar) ของเมียนมานั้น ทำหน้าที่ควบคุมสถาบันการเงินทั้งหมด กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก อัตราส่วนของสินทรัพย์และหนี้สิน อัตราแลกเปลี่ยนและออกธนบัตร โดยเป้าหมายหลักขององค์กร คือ การรักษาเสถียรภาพทางการเงินของเมียนมา


(ที่มา : Nikkei Asian Review Website, 2015)


      สำหรับผู้ประกอบการต่างชาติที่ต้องการส่งเงินทุน/กำไรกลับประเทศ ตามกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment Low) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมาธิการส่งเสริมการลงทุน (MIC) มีหลักประกันและการคุ้มครองดังนี้

  • - อนุญาตให้นำเงินตราต่างประเทศเข้า-ออกได้
  • - อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศเมียนมาส่งเงินกลับได้หลังจากหักภาษีเงินได้และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เรียบร้อยแล้ว
  • - นักลงทุนต่างชาติสามารถส่งเงินปันผลออกนอกประเทศได้ทุกปี โดยเป็นเงินหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ภาษี และสวัสดิการของพนักงาน เช่น โบนัส และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และจ่ายเงินสบทบอื่นๆ โดยต้องการขออนุมัติจาก MIC และ Foreign Exchange Management Board (FEMB) ซึ่งเป็นหน่วยงานธนาคารกลางของเมียนมาทุกครั้ง

4.5. การครอบครองที่ดินในประเทศเมียนมา

      บริษัทต่างชาติที่ต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินจะได้สิทธิ์มา 2 วิธี คือ การเช่าที่ดินโดยตรงจากรัฐ/ได้รับอนุญาตให้เช่าจากเอกชนเมียนมา หรือได้รับสิทธิ์โดยการร่วมทุนกับหน่วยงานของรัฐที่มีสิทธิ์ในการใช้ที่ดิน

ข้อควรระวัง : ระบบการจดทะเบียนที่ดินในประเทศเมียนมา ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง มีหน่วยงานหลายส่วนแยกกันดูแล จึงขาดการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยในเรื่องกรรมสิทธิ์และการโอนกรรมสิทธิ์ การเช่าที่ดินจึงต้องตรวจสอบให้รอบคอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด


(ที่มา : University of Oxford, 2015)



4.6. การจ้างแรงงานจากต่างประเทศ

ในการแต่งตั้งบุคลากรในบริษัทต้องให้สิทธิ์กับชาวเมียนมาก่อน แต่ MIC สามารถพิจารณาการขอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญและช่างเทคนิคจากต่างประเทศได้แล้วแต่กรณี ซึ่งการจ้างผู้เชี่ยวชาญและช่างเทคนิคจากต่างประเทศ บริษัทสามารถกระทำได้ดังนี้

  • - ลงทุนจะต้องแจ้งจำนวนของผู้เชี่ยวชาญและหรือช่างเทคนิคที่จะจ้างลงในแบบฟอร์มการลงทุน และส่งไปยัง MIC
  • - หลังจากได้ใบอนุญาตจาก MIC แล้ว บริษัทจะต้องทำเรื่องแต่งตั้งและทำการขออนุญาตพำนัก
  • - หลังจากการรับรองของ MIC บริษัทจะต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงานกับคณะกรรมการแรงงาน และขอใบอนุญาตพำนักและวีซ่าจากกรมตรวจคนเข้าเมืองและทะเบียนแห่งชาติ สังกัดกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและประชากร


(ที่มา : www.careerminer.infomine.com, 2013)

 

4.7. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลการประกอบธุรกิจ

        1) นักลงทุนต่างชาติสามารถดำเนินธุรกิจในเมียนมาได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้อาจดำเนินธุรกิจโดยไม่ต้องเข้าไปจัดตั้งนิติบุคคลในประเทศเมียนมาก็ได้ ซึ่งการแต่งตั้งชาวเมียนมาเป็นตัวแทนทางการค้านั้นจะต้องจดทะเบียนการแต่งตั้งตัวแทน
         2) การตั้งผู้แทนทางการค้าที่เป็นนิติบุคคล นอกจากจะต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายเมียนมาแล้ว ยังต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลเมียนมาด้วย คือ ต้องมีผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นทั้งหมดเป็นชาวเมียนมาหรือเป็นบริษัทเมียนมา ดังนั้นแม้ว่าในบริษัทหนึ่งจะมีชาวต่างชาติถือหุ้นเพียงหุ้นเดียว บริษัทนั้นก็จะถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในเมียนมา
         3) การประกอบธุรกิจทุกประเภทจะต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่เรียกว่า “Permit to Trade” จากกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาเสียก่อน จึงจะไปจดทะเบียนนิติบุคคลประเภทต่างๆ และประกอบธุรกิจได้ ทั้งนี้บริษัทที่เป็นบริษัทเมียนมาที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติเลยนั้น ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจก่อนการประกอบธุรกิจ
         4) กฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ไม่มีการระบุถึงเงินลงทุนขั้นต่ำ/สัดส่วนการลงทุนขั้นต่ำในกฎหมายชัดเจน โดยให้ MIC เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดตามลักษณะเฉพาะของธุรกิจแต่ละสาขา
         5) ผู้ลงทุนจะต้องนำใบอนุญาตลงทุนที่ได้ไปจดทะเบียนกับสำนักงานการขึ้นทะเบียนบริษัท (Companies Registration Office) และต้องขออนุญาตการค้าและจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าหรือส่งออกกับ Export Import Registration Office ด้วย หากมีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า
         6) ภาษีและอัตราภาษีของการประกอบธุรกิจในเมียนมา เป็นไปตามมาตรฐานสากล

(ที่มา : AJ consultants website, 2016)

 


สหภาพเมียนมาร์